HAPPY HOME CLINIC

ประวัติและผลงาน

นพ.ทวีศักดิ์ สิริรัตน์เรขา

จิตแพทย์เด็กและวัยรุ่น

การฝึกอบรม ดูงานต่างประเทศ

 

การประชุม APEC digital hub for mental health

ณ กรุงมะนิลา สาธารณรัฐฟิลิปปินส์

วันที่ 5-6 ธันวาคม 2561

Thaweesak-APEC


 

Thaweesak-APEC Thaweesak-APEC
 
Thaweesak-APEC Thaweesak-APEC

 


วัตถุประสงค์

    (1) แลกเปลี่ยนโปรแกรมนวัตกรรม การคิดริเริ่ม ของประเทศสมาชิกที่แตกต่างกัน บนข้อมูลมาตรฐานเดียวกัน
    (2) โอกาสในการทำข้อตกลง ความร่วมมือใหม่ ๆ
    (3) พิจารณาแนวคิด และกำหนดแนวทางในการขยายผล ในดิจิทัลฮับ (digital hub)
    (4) สร้างการเชื่อมโยงกับคณะทำงานในจุดเน้นอื่นๆ ของ APEC Digital Hub เพื่อสุขภาพจิต


 

APEC Digital Hub Round Table Meeting on Data Standardization - Day 1

 

APEC Digital Hub Round Table Meeting on Data Standardization - Day 2

 


สาระสำคัญจากการประชุม

มีการแลกเปลี่ยนการดำเนินงานของประเทศสมาชิก APEC digital hub for mental health เพื่อเรียนรู้ร่วมกัน ในเรื่อง “การจัดทำมาตรฐานและระบบข้อมูล” ปัจจัยแห่งความสำเร็จ และข้อจำกัดหรือปัญหาอุปสรรคในการดำเนินงาน ซึ่งพบว่ามีส่วนที่คล้ายคลึงกัน เช่น มีหน่วยงานกลางในการพัฒนาระบบข้อมูลระดับประเทศ และมีส่วนที่แตกต่างกันตามบริบทของแต่ละแห่ง ทั้งในเรื่องความพร้อม วิธีการรวบรวมข้อมูล มีทั้งการรวมศูนย์ และกระจายการรวบรวม จัดทำเป็น snapshot ของแต่ละประเทศ

ปัญหาอุปสรรคคือ ไม่มีมาตรฐานของข้อมูลที่เหมาะสม การดำเนินงานไม่ครอบคลุมทั้งภาครัฐและเอกชน การรวบรวมข้อมูลโดยไม่มีโครงสร้างที่แน่นอน และมีข้อจำกัดในการดำเนินงานระดับประเทศ ปัจจัยแห่งความสำเร็จ คือ การมีนโยบายภาครัฐที่ชัดเจนและมีผลผูกพัน การมีฐานข้อมูลระดับประเทศ และมีระบบที่ชัดเจน

มีการนำเสนอ good practice ของประเทศสมาชิกที่ได้ดำเนินการในจุดเน้นต่างๆ และนำเสนอ platform ที่ใช้ในการแลกเปลี่ยนข้อมูล โดยเฉพาะ good practice และ guidelines รวมถึงการระดมสมองเพื่อทำข้อเสนอแนะในการดำเนินงานร่วมกันของประเทศสมาชิกต่อไป ทั้งในระยะสั้นและระยะยาว

สำหรับ APEC digital hub for Mental Health เน้นยุทธศาสตร์ต่างๆ ซึ่งจัดให้อยู่ใน 7 กลุ่มที่เป็นจุดเน้น ได้แก่

    (1) การจัดทำมาตรฐานด้านการจัดเก็บข้อมูล (Data Collection and Standardization)
    (2) ชุมชนและเยาวชนในกลุ่มที่มีความเปราะบาง (Vulnerable Communities and Children)
    (3) การเยียวยาจากภัยพิบัติและเหตุการณ์สะเทือนจิตใจ (Disaster Resilience and Trauma)
    (4) การบูรณาการการดูแลระดับปฐมภูมิกับชุมชน (Integration with Primary Care and Community Settings)
    (5) นโยบายและการสร้างความตระหนักสาธารณะ (Advocacy and Public Awareness)
    (6) สุขภาวะในที่ทำงาน (Workplace Wellness and Resilience)
    (7) สุขภาพจิตที่ดีในกลุ่มชนเผ่าพื้นเมือง (Mental Wellness of Indigenous Communities)

แต่ละประเทศสมาชิกได้จัดลำดับความสำคัญของกลุ่มที่เป็นเน้น ซึ่งพบว่ามีความแตกต่างกัน ตามบริบทของแต่ละประเทศ

ประเทศสมาชิกได้ร่วมกันจัดทำข้อเสนอแนะในการดำเนินงานต่อไป ดังนี้

    (1) ควรมีการตั้งเป้าเป็นระยะ โดยเริ่มจากการทำความเข้าใจ ข้อกำหนดและระเบียบของแต่ละประเทศก่อน และสุดท้ายเพื่อให้เกิดการรวมข้อมูลที่เป็นมาตรฐานเดียวกันอย่างแท้จริง
    (2) ควรจัดอันดับใน 7 เนื้อหาที่เป็นจุดเน้น เพื่อดูความแตกต่างของแต่ละประเทศ เพื่อพิจารณาความพร้อมด้านโครงสร้างพื้นฐานของแต่ละที่นั้นเป็นอย่างไร เพื่อวางการตัดสินใจภายใต้พื้นฐานข้อมูลก่อน เช่น commons term และอื่นๆ โดย เชื่อมโยง แบบฟอร์ม ในแต่ละโรคทางจิตเวชทาง web site เพื่อให้ประชาชนโดยทั่วไป คัดกรองเบื้องต้น
    (3) ให้พิจารณาว่าต้องการข้อมูลเพื่อทำอะไร พัฒนา guideline ในการดำเนินการ ดำเนินการศึกษาช่องว่างในการดำเนินการก่อน และให้มีการแชร์ good practice ของแต่ละประเทศ
    (4) ในส่วนที่เป็น guideline นั้น จะต้องค่อยๆ ดำเนินการ เช่น การดำเนินงานในส่วนที่เป็น white paper ว่า แนวทางจะดำเนินไปอย่างไรถึงจะเหมาะสม
    (5) ส่งเสริมให้มีการใช้ประโยชน์ใน website ส่วนที่เป็น Digital hub for mental health ในการให้ความเห็น แลกเปลี่ยน และอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินงานในส่วนนี้ต่อไป

 


 

Thaweesak-APEC

 


นพ.ทวีศักดิ์ สิริรัตน์เรขา

นพ.ทวีศักดิ์ สิริรัตน์เรขา

จิตแพทย์เด็กและวัยรุ่น
การศึกษา

· แพทยศาสตร์บัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
· วุฒิบัตรแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ สาขาจิตเวชศาสตร์เด็กและวัยรุ่น (จุฬาฯ)

ข้อมูลเพิ่มเติม »

 

· การดูแลสุขภาพจิตเด็ก ผู้ประสบภัยสึนามิ ประเทศไทย
· การดูแลสุขภาพจิตเด็ก ผู้ประสบภัยพายุไซโคลนนาร์กีส ประเทศพม่า
· การดูแลสุขภาพจิต แรงงานไทยในต่างประเทศ ประเทศมาเลเซีย

 

· Digital Transformation Program
    ณ สาธารณรัฐประชาชนจีน
· Autism Spectrum Disorder
    ณ มลรัฐนอร์ท โคโลราโด ประเทศสหรัฐอเมริกา
· Psychotraumatology
    ณ สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี
· Children with intellectual disabilities
    ณ เมืองคุมาโมโต้ ประเทศญี่ปุ่น

 

· APEC digital hub for mental health 2019
    ณ สาธารณรัฐสิงคโปร์
· APEC digital hub for mental health 2018
    ณ สาธารณรัฐฟิลิปปินส์
· EUNETHYDIS 23rd International ADHD Conference 2013
    ณ กรุงปราก สาธารณรัฐเช็ค

ข้อมูลเพิ่มเติม »

 

 

HAPPY HOME ACADEMY

ศูนย์วิชาการ แฮปปี้โฮม

ศูนย์วิชาการ นำเสนอความรู้ทางวิชาการด้านสุขภาพจิตเด็กและวัยรุ่น และรับจัดฝึกอบรมให้กับหน่วยงานต่างๆ
ศูนย์วิชาการออทิสติก สมาธิสั้น แอลดี พัฒนาการเด็ก การบำบัดรักษาที่จำเป็น รวมทั้งการแพทย์เสริมและทางเลือก เช่น ศิลปะบำบัด ดนตรีบำบัด ฯลฯ

Happy Home Academy

 

 

ศูนย์วิชาการ แฮปปี้โฮม