HAPPY HOME CLINIC

ศูนย์วิชาการ แฮปปี้โฮม

รวบรวมและเผยแพร่ ข้อมูลความรู้ทางวิชาการ ที่เกี่ยวข้องในการพัฒนาเด็กและวัยรุ่น
รวมถึงการรับจัดฝึกอบรม สัมมนา กิจกรรมวิชาการ นิทรรศการเผยแพร่ความรู้
เพื่อเป็นการเรียนรู้ร่วมกันระหว่าง ผู้ปกครอง นักวิชาการ และประชาชนทั่วไปที่สนใจ

H   A   P   P   Y       H   O   M   E       A   C   A   D   E   M   Y

 

Autistic Savant: Kim Peek

 

นพ.ทวีศักดิ์ สิริรัตน์เรขา จิตแพทย์เด็กและวัยรุ่น

 

แดเนียล แทมเมต (Daniel Tammet) หรือในชื่อเดิมว่า “Daniel Paul Corney” เป็นอัจฉริยะออทิสติกชาวอังกฤษ ผู้มีความสามารถพิเศษหลากหลายด้าน ทั้งด้านการคิดคำนวณทางคณิตศาสตร์ได้อย่างรวดเร็ว มีความคล่องแคล่วในการใช้ภาษาได้หลายภาษา และมีความจำเป็นเลิศอย่างน่ามหัศจรรย์

แทมเมต เกิดในปี พ.ศ. 2522 ณ กรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ เขาเป็นโรคลมชักตั้งแต่เด็ก และได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นแอสเอร์เกอร์ ซินโดรม (Asperger syndrome) โดย นพ. Simon Baron-Cohen เมื่ออายุ 25 ปี ซึ่งก็คือออทิสติกในปัจจุบัน และเขายังมีอาการ “Synesthesia” ซึ่งเป็นการรับรู้ข้ามประสาทสัมผัสได้ เขาจบปริญญาตรีสาขาศิลปะศาสตร์ เอกมานุษยวิทยา (humanity) ปัจจุบันอาศัยอยู่ในปารีส ประเทศฝรั่งเศส

เขาเป็นผู้ที่คิดคำนวณตัวเลขได้รวดเร็วอย่างน่าทึ่ง เขาคิดเลขในใจจำนวนมากโดยใช้เวลาเพียงไม่กี่วินาที นั่งเคาะโต๊ะไม่กี่ครั้งก็คิดออก ในปี พ.ศ. 2547 เขาได้สร้างสถิติใหม่ของยุโรป ในการท่องค่าพาย (Pi) ซึ่งเป็นคงที่ทางคณิตศาสตร์ได้อย่างแม่นยำ โดยสามารถท่องได้ถึงทศนิยมตำแหน่งที่ 22,514 โดยใช้เวลา 5 ชั่วโมง 9 นาที 24 วินาที ทำให้เขาโด่งดังจนเป็นที่รู้จักต่อสาธารณชน

Daniel Tammet

แดเนียล แทมเมต

นอกจากนี้เขายังมีความรอบรู้ในเรื่องการใช้ภาษาถึง 11 ภาษา (polyglot skills) โดยใช้เวลาเรียนรู้ในช่วงเวลาสั้น ๆ เคยมีรายการทีวีรายการหนึ่งได้สาธิตการเรียนรู้ภาษาของเขา โดยให้เรียนรู้ภาษาไอซ์แลนด์ ซึ่งเป็นภาษาที่ยากภาษาหนึ่ง เมื่อถึงวันที่ 7 เขาสามารถพูดคุยกับพิธีกรชาวไอซ์แลนด์ออกรายการทีวีได้อย่างคล่องแคล่ว

แทมเมตเขียนหนังสืออัตชีวประวัติของเขา ในปี พ.ศ. 2549 โดยใช้ชื่อว่า “Born on a Blue Day” ซึ่งคำว่า “Blue Day” หมายถึงวันพุธ ซึ่งเป็นวันเกิดของเขา เป็นวันที่เขาเห็นเป็นสีฟ้าทุกครั้งเวลาเขานึกถึง เขาจะเห็นแต่ละวันเป็นสีที่แตกต่างกัน

แทมเมตมีอาการที่เรียกว่า “Synesthesia” ซึ่งเป็นการรับรู้ข้ามประสาทสัมผัสได้ พบได้ไม่บ่อยนัก มีความหลากหลายแตกต่างกันไปในแต่ละคน เช่น เห็นภาพเป็นเสียงดนตรี รับรู้รสเป็นรูปทรง ได้ยินเสียงเพลงเป็นสีสัน นึกถึงตัวเลขเป็นสีสัน รูปทรง ได้กลิ่นเป็นตัวอักษร เป็นต้น

เขาบรรยายว่า เวลาคิดคำนวณ เขาจะเห็นจำนวนตัวเลขเป็นรูปทรง เป็นสี เป็นพื้นผิว เป็นความรู้สึก และเป็นบุคลิก ในลักษณะแตกต่างกันไป มากกว่าหมื่นรูปแบบ บางภาพที่เขาเห็นก็รู้สึกมีเสน่ห์น่าดึงดูด บางภาพก็รู้สึกว่าน่าเกลียด เลข 1 เป็นแสงสว่างสีขาว เลข 3 เป็นสีเขียว เลข 6 เป็นหลุมสีดำมืด ไม่มีอะไรน่าดึงดูด ในขณะที่ เลข 9 ดูตัวใหญ่ เหมือนตึกสูง และดูเป็นอันตราย เลข 117 ดูรูปหล่อ ตัวผอมสูง แต่ดูโคลงเคลง แล้วพอจับมาผสมผสานกัน ก็เป็นคำตอบออกมาได้อย่างถูกต้องและรวดเร็ว ซึ่งตัวเขาเองก็ไม่สามารถอธิบายวิธีคิดของเขาออกมาเป็นขั้นตอนให้เข้าใจได้ทั้งหมด

Daniel Tammet

ภาพของตัวเลข

Daniel Tammet

ภาพของค่า Pi

แทมเมตได้รับเชิญเป็นวิทยากรในรายการ TED talk หัวข้อ “การรู้ในหนทางที่แตกต่าง” (Different ways of knowing) ซึ่งพูดได้ดีมาก เขาเล่าให้เราฟังว่าเขาคิดคำนวณแบบไหน ตัวเลขแต่ละตัวมีลักษณะ บุคลิกนิสัยแตกต่างกันกันอย่างไร การรับรู้เชิงสุนทรียศาสตร์แทนการใช้เหตุผลเชิงนามธรรมเป็นอย่างไร

มีความพยายามที่จะศึกษาถึงความจำอันน่ามหัศจรรย์ของเขา พบว่ามีการทำงานของสมองส่วน prefrontal cortex ซีกซ้ายมากกว่าปกติ แต่ก็ไม่พบความแตกต่างในการทำงานของสมองส่วนอื่น ๆ อย่างชัดเจนที่จะอธิบายความสามารถเหล่านี้

เขาได้เขียนหนังสือตามมาอีกหลายเล่มหลังจากอัตชีวประวัติของเขาในเล่มแรก เช่น “Embracing the Wide Sky” (2009) เป็นหนังสือขายดีในฝรั่งเศส “Thinking in Numbers” (2012) ตีพิมพ์ในอังกฤษและแคนาดา และ “Mishenka” (2016) ซึ่งเป็นนิยายที่ตีพิมพ์ในฝรั่งเศส ฯลฯ ปัจจุบันหนังสือของเขาหลายเล่มได้ถูกแปลและตีพิมพ์มากกว่า 20 ภาษา หนังสือเล่มล่าสุดของเขาคือ “How to be normal – note on the eccentricities of modern life” ตีพิมพ์ในประเทศอังกฤษ ปี พ.ศ. 2563

Daniel Tammet

ผลงานด้านหนังสือ

ผลงานและข้อมูลต่าง ๆ ของแดเนียล แทมเมต เก็บรวบรวมไว้ที่เว็บไซต์อย่างเป็นทางการของเขา โดยสามารถเข้าได้ที่ www.danieltammet.net

 

เอกสารอ้างอิง

Tammet D. (2011). Different ways of knowing. [Online]. Available URL: https://www.ted.com/talks/daniel_tammet _different_ways_of_knowing

Tammet D. (2022). Daniel Tammet. [Online]. Available URL: http://danieltammet.net/

Wikipedia. (2022). Daniel Tammet. [Online]. Available URL: https://en.wikipedia.org/wiki/Daniel_Tammet

 

ทวีศักดิ์ สิริรัตน์เรขา. (2565). อัจฉริยะออทิสติก: แดเนียล แทมเมต. จาก https://www.happyhomeclinic.com/savant14-danieltammet.html

(บทความต้นฉบับ: มกราคม 2549)

 

ดาวน์โหลดบทความ »
นพ.ทวีศักดิ์ สิริรัตน์เรขา

นพ.ทวีศักดิ์ สิริรัตน์เรขา

จิตแพทย์เด็กและวัยรุ่น
การศึกษา

· แพทยศาสตร์บัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
· วุฒิบัตรแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ สาขาจิตเวชศาสตร์เด็กและวัยรุ่น (จุฬาฯ)

ข้อมูลเพิ่มเติม »

 

Autism Spectrum Disorder

Autism Spectrum Disorder: FAQ

Genius & Autism

Savant Syndrome

Autistic Savant

Autistic Savant Level

Autistic Savant & Cognitive style

Autistic Savant & Care

Autistic Savant & Genetic

ข้อมูลเพิ่มเติม »

 

 

 

ศูนย์วิชาการ ออทิสติก

 

ศูนย์วิชาการ ออทิสติก

 

 

ศูนย์วิชาการ ออทิสติก

Autistic Academy

รวบรวมความรู้ที่เป็นปัจจุบัน เกี่ยวกับออทิสติก (Autism Spectrum Disorder) ในแง่มุมต่างๆ แนวทางการดูแลรักษาแบบบูรณาการ รวมถึงออทิสติกที่มีความสามารถพิเศษ

· ออทิสติก - Autism Spectrum Disorder
· ออทิสติก 10 คำถาม
· แนวทางการดูแลออทิสติกแบบบูรณาการ
    · การส่งเสริมพลังครอบครัว ในออทิสติก
    · การส่งเสริมความสามารถ ในออทิสติก
    · การส่งเสริมพัฒนาการ ในออทิสติก
    · การปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ในออทิสติก
    · กิจกรรมบำบัด ในออทิสติก
    · แก้ไขการพูด ในออทิสติก
    · การฝึกทักษะสังคม ในออทิสติก
    · การฟื้นฟูสมรรถภาพทางการศึกษา ในออทิสติก
    · การฟื้นฟูสมรรถภาพทางอาชีพ ในออทิสติก
    · การรักษาด้วยยา ในออทิสติก
· การบำบัดทางเลือก ในออทิสติก
· เรียนรู้และเข้าใจเด็กออทิสติก
· พฤติกรรมแปลกๆของเด็กออทิสติก
· การเลี้ยงดูเด็กออทิสติก
· เมื่อเด็กออทิสติกถึงวัยเรียน
· เด็กออทิสติกกับการเล่นสมมติ
· พฤติกรรมการเล่นในเด็กออทิสติก
· แนวทางส่งเสริมการเล่นในเด็กออทิสติก
· แอสเพอร์เกอร์
· เมื่อลูกเป็นแอสเพอร์เกอร์ ซินโดรม
· พีดีดี เอ็นโอเอส
· ลิงก็เป็นออทิสติกได้
· หมาก็เป็นออทิสติกได้
· อัจฉริยะกับออทิสติก
· ซาวองต์ ซินโดรม
· ออทิสติก ซาวองต์
· ระดับความสามารถของอัจฉริยะออทิสติก
· รูปแบบการคิดของอัจฉริยะออทิสติก
· แนวทางการพัฒนาอัจฉริยะออทิสติก
· รหัสพันธุกรรมของอัจฉริยะออทิสติก
· การประเมิน อัจฉริยะออทิสติก
· Rain Man จากเรนแมน สู่ออทิสติก
· Good Doctor หมออัจฉริยะ ออทิสติก
· Move to Heaven สู่ความเข้าใจแอสเพอร์เกอร์
· Attorney Woo ทนายอัจฉริยะ ออทิสติก
· อัจฉริยะออทิสติก: คิม พีค
· อัจฉริยะออทิสติก: เทมเพิล แกรนดิน
· อัจฉริยะออทิสติก: สตีเฟน วิลท์เชียร์
· อัจฉริยะออทิสติก: แดเนียล แทมเมต

 

A   U   T   I   S   T   I   C       A   C   A   D   E   M   Y

 

 

Autism Spectrum Disorder   Autism Spectrum Disorder: FAQ   Autism Spectrum Disorder : Integrated care   Autism Spectrum Disorder : Family Empowerment   Autism Spectrum Disorder: Ability Enhancement   Autism Spectrum Disorder : Developmental Intervention   Autism Spectrum Disorder : Behavior Modification   Autism Spectrum Disorder: Occupational Therapy   Autism Spectrum Disorder : Speech Therapy   Autism Spectrum Disorder : Social Skill Training   Autism Spectrum Disorder: Educational Rehabilitation   Autism Spectrum Disorder : Vocational Rehabilitation   Autism Spectrum Disorder: Pharmacotherapy   Autism Spectrum Disorder: Alternative Therapy   Autism Spectrum Disorder: Understand   Autism Spectrum Disorder: Abnormal Behavior   Autism Spectrum Disorder: Child Rearing   Autism Spectrum Disorder: School Age   Autism Spectrum Disorder: Pretend Play   Autism Spectrum Disorder: Play Behavior   Autism Spectrum Disorder: Play Promotion  

คลิกเลือกเรื่องที่สนใจ

 

Genius & Autism   Savant Syndrome   Autistic Savant   Autistic Savant Level   Autistic Savant & Cognitive Style   Autistic Savant & Care   Autistic Savant & Genetic   Autistic Savant & Assessment   Good Doctor   Move to Heaven   Extraordinary Attorney Woo   Rain Man   Autistic Savant: Kim Peek   Autistic Savant: Temple Grandin   Autistic Savant: Stephen Wiltshire   Autistic Savant: Daniel Tammet   Asperger   Asperger Syndrome   PDD NOS   Autistic Monkey   Autistic Dog  

คลิกเลือกเรื่องที่สนใจ