HAPPY HOME CLINIC

ศูนย์วิชาการ แฮปปี้โฮม

รวบรวมและเผยแพร่ ข้อมูลความรู้ทางวิชาการ ที่เกี่ยวข้องในการพัฒนาเด็กและวัยรุ่น
รวมถึงการรับจัดฝึกอบรม สัมมนา กิจกรรมวิชาการ นิทรรศการเผยแพร่ความรู้
เพื่อเป็นการเรียนรู้ร่วมกันระหว่าง ผู้ปกครอง นักวิชาการ และประชาชนทั่วไปที่สนใจ

H   A   P   P   Y       H   O   M   E       A   C   A   D   E   M   Y

 

Autistic Savant & Care

 

นพ.ทวีศักดิ์ สิริรัตน์เรขา จิตแพทย์เด็กและวัยรุ่น

 

“อัจฉริยะออทิสติก” หรือ “ออทิสติกซาวองต์” (autistic savant) คือ บุคคลอัจฉริยะหรือผู้ที่มีความสามารถพิเศษเฉพาะด้าน ที่เป็นออทิสติกด้วย ส่วนใหญ่พบติดตัวมาตั้งแต่แรกเกิดเลยก็ว่าได้ แต่ก็อาจเกิดจากการเรียนรู้และฝึกฝนในภายหลังได้เช่นเดียวกัน ทั้งในช่วงวัยเด็ก วัยผู้ใหญ่ หรือแม้กระทั่งในวัยสูงอายุก็ตาม

การเรียนรู้และฝึกฝนอย่างต่อเนื่อง ช่วยพัฒนาความสามารถพิเศษได้มาก โดยเฉพาะทักษะด้านคณิตศาสตร์ ทักษะด้านศิลปะ ทักษะด้านดนตรี และทักษะกลไก มิติสัมพันธ์ จากเริ่มแรกเป็นการจดจำและทำซ้ำได้เหมือนต้นแบบ (duplication) สามารถพัฒนาจนมีไหวพริบ ปฏิภาณ (improvisation) มากขึ้น และสามารถริเริ่มสร้างสรรค์ (creation) ด้วยตนเองได้ในที่สุด

ในอดีตเชื่อว่า การดูแลเด็กกลุ่มนี้จะต้องเลือกเอาระหว่างการแก้ไขความบกพร่อง (eliminating the defect) หรือจะส่งเสริมความสามารถพิเศษ (training the talent) เพราะเชื่อว่าเมื่อแก้ไขความบกพร่องจนดีขึ้นแล้ว ความสามารถพิเศษที่มีอยู่จะสูญหายไป

เนื่องจากในปี พ.ศ. 2520 ดร. Lorna Selfe รายงานกรณีศึกษา “Nadia” และรายงานผลการศึกษาระยะยาวในปี พ.ศ. 2554 นาเดียเป็นเด็กออทิสติกที่มีความสามารถพิเศษด้านการวาดภาพ แสดงให้เห็นโดดเด่นตั้งแต่อายุ 3 ขวบ แต่ความสามารถเหล่านี้หายไปเมื่อเธอเข้าโรงเรียน แม้จะพยายามสร้างแรงจูงใจ และฝึกสอนทักษะให้เพิ่มเติม แต่เธอก็ไม่สนใจและไม่ได้แสดงความสามารถด้านนี้ให้เห็นอีก ไม่สามารถหาคำอธิบายว่าเกิดอะไรขึ้น แต่ก็เป็นเพียงกรณีศึกษาส่วนน้อยที่มีรายงานอย่างเป็นทางการ ในขณะที่อีกหลายกรณี พบว่า ความสามารถพิเศษมีการพัฒนาขึ้นเรื่อย ๆ ควบคู่ไปกับพัฒนาการที่ดีขึ้น

ในปัจจุบันพบว่า ความเป็นอัจฉริยะหรือสามารถพิเศษเฉพาะด้านเหล่านี้ ไม่ได้ลดลงหรือหายไปเมื่อพัฒนาการดีขึ้น ตามความเชื่อแบบเดิม เห็นได้ชัดจากกรณีของ “คีม พีค” และ “สตีเฟน วิลท์เชียร์” ซึ่งเขามีการพัฒนาทักษะทางสังคมและการสื่อสารที่ดีขึ้นมาก หลังจากเขาโด่งดังและเดินทางไปแสดงความอัจฉริยะให้เห็นทั่วโลก

การส่งเสริมความสามารถพิเศษเฉพาะด้านที่มีอยู่ในเด็กออทิสติก โดยนำมาประยุกต์ใช้ในห้องเรียน ที่ทำงาน หรือที่บ้าน ยังพบว่าช่วยลดความบกพร่องที่มีในตัวเด็กควบคู่กันไปด้วย

ในการดูแล สามารถช่วยเหลือทั้ง 2 แนวทางควบคู่กันไปได้ โดยเปลี่ยนความหมกมุ่นในกิจกรรมเฉพาะบางอย่างที่เด็กสนใจ จากหมกมุ่นแบบซ้ำซากจำเจ ให้เป็นพฤติกรรมที่มีจุดมุ่งหมายมากขึ้น จากเรื่องที่เด็กสนใจค่อย ๆ ขยายขอบเขตความสนใจ ให้กว้างขึ้น ลึกซึ้งขึ้น และมีมุมมองที่หลากหลายมากยิ่งขึ้น ก็เชื่อว่าจะช่วยให้เด็กมีการพัฒนาได้เต็มศักยภาพ โดยหลงเหลือความบกพร่องน้อยที่สุด

แนวทางการพัฒนาความเป็นอัจฉริยะ หรือความสามารถพิเศษเฉพาะด้าน ในอัจฉริยะออทิสติก จะเป็นการบูรณาการเทคนิควิธีที่ใช้ในการดูแลเด็กอัจฉริยะ และเด็กออทิสติกเข้าด้วยกัน

เทคนิควิธีที่ใช้ในการดูแลเด็กอัจฉริยะ คือ จัดห้องเรียนที่ส่งเสริมการเรียนรู้ที่หลากหลาย (enrichment) และมีที่ปรึกษาแนะนำอย่างใกล้ชิด (mentorship) เป็นต้น

เทคนิควิธีที่ใช้ในการดูแลเด็กออทิสติก คือ การวิเคราะห์และปรับเปลี่ยนพฤติกรรม (Applied Behavior Analysis: ABA) การฝึกแก้ไขการพูด (speech therapy) การใช้กลวิธีการรับรู้ผ่านการมอง (visual strategies) การเสริมสร้างทักษะทางสังคม (social skill training) รวมถึงการบำบัดทางเลือก (alternation therapy) ในรูปแบบที่เหมาะสมกับเด็ก

สำหรับระบบคิดในเด็กอัจฉริยะออทิสติก แบ่งออกเป็น 3 กลุ่มใหญ่ คือ คิดเป็นภาพ (visual thinkers) คิดเป็นรูปแบบ (pattern thinkers) และคิดเป็นคำพูด (verbal thinkers) เมื่อทราบว่าเด็กมีระบบคิดแบบไหนแล้ว ก็จะสามารถหาวิธีการส่งเสริมการเรียนรู้ที่เหมาะสมกับเด็กได้ไม่ยาก

หัวใจสำคัญในการพัฒนา คือ การทำแผนการจัดการศึกษาเฉพาะบุคคล (Individualized Education Plan; IEP) ให้เหมาะสมกับความสนใจ ความสามารถพิเศษ และระดับความสามารถในการเรียนรู้ เมื่ออัจฉริยะออทิสติกได้รับการดูแลในแนวทางที่เหมาะสม ก็จะสามารถดึงศักยภาพที่มีอยู่มาใช้ได้อย่างเต็มที่

 

เอกสารอ้างอิง

Miller LK. (2005). What the savant syndrome can tell us about the nature and nurture of talent. Journal for the Education of the Gifted. 28(3): 361-73.

Selfe L. (2011). Nadia revisited: A longitudinal study of an autistic savant. New York: Psychology Press.

Treffert DA. (2005). The autistic savant. [Online]. Available URL: http://www.wisconsinmedicalsociety.org/savant/savantsyndrome.cfm

Treffert DA. (2014). Savant syndrome: Realities, myths and misconceptions. J Autism Dev Disord. 44: 564–71

 

ทวีศักดิ์ สิริรัตน์เรขา. (2565). แนวทางการพัฒนาอัจฉริยะออทิสติก. จาก https://www.happyhomeclinic.com/savant06-autisticsavant-care.html

(บทความต้นฉบับ: มกราคม 2565)

 

ดาวน์โหลดบทความ »
นพ.ทวีศักดิ์ สิริรัตน์เรขา

นพ.ทวีศักดิ์ สิริรัตน์เรขา

จิตแพทย์เด็กและวัยรุ่น
การศึกษา

· แพทยศาสตร์บัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
· วุฒิบัตรแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ สาขาจิตเวชศาสตร์เด็กและวัยรุ่น (จุฬาฯ)

ข้อมูลเพิ่มเติม »

 

Autism Spectrum Disorder

Autism Spectrum Disorder: FAQ

Genius & Autism

Savant Syndrome

Autistic Savant

Autistic Savant Level

Autistic Savant & Cognitive style

Autistic Savant & Care

Autistic Savant & Genetic

ข้อมูลเพิ่มเติม »

 

 

 

ศูนย์วิชาการ ออทิสติก

 

ศูนย์วิชาการ ออทิสติก

 

 

ศูนย์วิชาการ ออทิสติก

Autistic Academy

รวบรวมความรู้ที่เป็นปัจจุบัน เกี่ยวกับออทิสติก (Autism Spectrum Disorder) ในแง่มุมต่างๆ แนวทางการดูแลรักษาแบบบูรณาการ รวมถึงออทิสติกที่มีความสามารถพิเศษ

· ออทิสติก - Autism Spectrum Disorder
· ออทิสติก 10 คำถาม
· แนวทางการดูแลออทิสติกแบบบูรณาการ
    · การส่งเสริมพลังครอบครัว ในออทิสติก
    · การส่งเสริมความสามารถ ในออทิสติก
    · การส่งเสริมพัฒนาการ ในออทิสติก
    · การปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ในออทิสติก
    · กิจกรรมบำบัด ในออทิสติก
    · แก้ไขการพูด ในออทิสติก
    · การฝึกทักษะสังคม ในออทิสติก
    · การฟื้นฟูสมรรถภาพทางการศึกษา ในออทิสติก
    · การฟื้นฟูสมรรถภาพทางอาชีพ ในออทิสติก
    · การรักษาด้วยยา ในออทิสติก
· การบำบัดทางเลือก ในออทิสติก
· เรียนรู้และเข้าใจเด็กออทิสติก
· พฤติกรรมแปลกๆของเด็กออทิสติก
· การเลี้ยงดูเด็กออทิสติก
· เมื่อเด็กออทิสติกถึงวัยเรียน
· เด็กออทิสติกกับการเล่นสมมติ
· พฤติกรรมการเล่นในเด็กออทิสติก
· แนวทางส่งเสริมการเล่นในเด็กออทิสติก
· แอสเพอร์เกอร์
· เมื่อลูกเป็นแอสเพอร์เกอร์ ซินโดรม
· พีดีดี เอ็นโอเอส
· ลิงก็เป็นออทิสติกได้
· หมาก็เป็นออทิสติกได้
· อัจฉริยะกับออทิสติก
· ซาวองต์ ซินโดรม
· ออทิสติก ซาวองต์
· ระดับความสามารถของอัจฉริยะออทิสติก
· รูปแบบการคิดของอัจฉริยะออทิสติก
· แนวทางการพัฒนาอัจฉริยะออทิสติก
· รหัสพันธุกรรมของอัจฉริยะออทิสติก
· การประเมิน อัจฉริยะออทิสติก
· Rain Man จากเรนแมน สู่ออทิสติก
· Good Doctor หมออัจฉริยะ ออทิสติก
· Move to Heaven สู่ความเข้าใจแอสเพอร์เกอร์
· Attorney Woo ทนายอัจฉริยะ ออทิสติก
· อัจฉริยะออทิสติก: คิม พีค
· อัจฉริยะออทิสติก: เทมเพิล แกรนดิน
· อัจฉริยะออทิสติก: สตีเฟน วิลท์เชียร์
· อัจฉริยะออทิสติก: แดเนียล แทมเมต

 

A   U   T   I   S   T   I   C       A   C   A   D   E   M   Y

 

 

Autism Spectrum Disorder   Autism Spectrum Disorder: FAQ   Autism Spectrum Disorder : Integrated care   Autism Spectrum Disorder : Family Empowerment   Autism Spectrum Disorder: Ability Enhancement   Autism Spectrum Disorder : Developmental Intervention   Autism Spectrum Disorder : Behavior Modification   Autism Spectrum Disorder: Occupational Therapy   Autism Spectrum Disorder : Speech Therapy   Autism Spectrum Disorder : Social Skill Training   Autism Spectrum Disorder: Educational Rehabilitation   Autism Spectrum Disorder : Vocational Rehabilitation   Autism Spectrum Disorder: Pharmacotherapy   Autism Spectrum Disorder: Alternative Therapy   Autism Spectrum Disorder: Understand   Autism Spectrum Disorder: Abnormal Behavior   Autism Spectrum Disorder: Child Rearing   Autism Spectrum Disorder: School Age   Autism Spectrum Disorder: Pretend Play   Autism Spectrum Disorder: Play Behavior   Autism Spectrum Disorder: Play Promotion  

คลิกเลือกเรื่องที่สนใจ

 

Genius & Autism   Savant Syndrome   Autistic Savant   Autistic Savant Level   Autistic Savant & Cognitive Style   Autistic Savant & Care   Autistic Savant & Genetic   Autistic Savant & Assessment   Good Doctor   Move to Heaven   Extraordinary Attorney Woo   Rain Man   Autistic Savant: Kim Peek   Autistic Savant: Temple Grandin   Autistic Savant: Stephen Wiltshire   Autistic Savant: Daniel Tammet   Asperger   Asperger Syndrome   PDD NOS   Autistic Monkey   Autistic Dog  

คลิกเลือกเรื่องที่สนใจ