HAPPY HOME ACADEMY

 

การตอบแบบทดสอบ
คำตอบที่สามารถเลือกตอบได้ในแต่ละข้อคำถามมี 4 คำตอบ ได้แก่ “ไม่ใช่เลย” “ไม่น่าใช่” “น่าจะใช่” และ “ใช่เลย” การตอบให้ใช้ความรู้สึกของผู้ตอบเป็นหลัก กรณีที่ไม่แน่ใจให้ใช้เกณฑ์ต่อไปนี้เป็นแนวทางในการตอบ
“ไม่ใช่เลย” หมายถึง ผู้ตอบมีความมั่นใจ 100% ว่าตนเองไม่เคยมีพฤติกรรมเช่นนั้นเลย
“ไม่น่าใช่” หมายถึง ผู้ตอบมีความมั่นใจมากกว่า 50% (แต่ไม่ถึง 100%) ว่าตนเองไม่เคยมีพฤติกรรมเช่นนั้น
“น่าจะใช่” หมายถึง ผู้ตอบมีความมั่นใจมากกว่า 50% (แต่ไม่ถึง 100%) ว่าตนเองมีหรือเคยมีพฤติกรรมเช่นนั้น
“ใช่เลย” หมายถึง ผู้ตอบมีความมั่นใจ 100% ว่าตนเองมีหรือเคยมีพฤติกรรมเช่นนั้น

โปรดระบุเพศด้วย เนื่องจากค่าคะแนนที่ใช้ในการแปลผลแตกต่างกัน

คำแนะนำก่อนตอบแบบทดสอบ
ข้อความต่อไปนี้เป็นการอธิบายถึงพฤติกรรมที่เกี่ยวข้องกับการเล่นเกมของท่าน กรุณาอ่านโดยละเอียด และพิจารณาเลือกคำตอบที่ใกล้เคียงกับพฤติกรรมของตัวท่านมากที่สุดในช่วง 3 เดือนที่ผ่านมา โดยทำเครื่องหมายลงในช่อง

ข้อจำกัด
ใช้คัดกรองด้วยตนเอง สำหรับเด็กและวัยรุ่น ช่วงอายุตั้งแต่ 8 ปีขึ้นไป

 

โปรดระบุเพศ

ชาย
หญิง

ข้อ คำถาม (ตั้งแต่ฉันชอบเล่นเกม...) ไม่ใช่เลย ไม่น่าใช่ น่าจะใช่ ใช่เลย
1 ฉันสนใจหรือทำกิจกรรมอย่างอื่นน้อยลงมาก
2 ฉันมักเล่นเกมจนลืมเวลา
3 ความสัมพันธ์ระหว่างฉันกับคนในครอบครัวแย่ลง
4 ฉันเคยเล่นเกมดึกมาก จนทำให้ตื่นไปโรงเรียนไม่ไหว
5 ฉันมักเล่นเกมเกินเวลาที่ฉันอนุญาตให้เล่น
6 ฉันมักอารมณ์เสียเวลามีใครมาบอกให้เลิกเล่นเกม
7 ฉันเคยหนีเรียนเพื่อไปเล่นเกม
8 เรื่องที่ฉันคุยกับเพื่อน ๆ มักเป็นเรื่องเกี่ยวกับเกม
9 ฉันใช้เวลาว่างส่วนใหญ่ไปกับการเล่นเกม
10 การเรียนของฉันแย่ลงกว่าเดิมมาก
11 กลุ่มเพื่อนที่ฉันคบด้วย ชอบเล่นเกมเหมือนกับฉัน
12 เวลาที่ฉันพยายามหักห้ามใจตัวเองไม่ให้เล่นเกมมาก ฉันมักจะทำไม่ได้
13 เงินของฉันส่วนใหญ่หมดไปกับเกม (เช่น ซื้อบัตรชั่วโมง, ซื้อหนังสือเกม, ซื้ออาวุธในเกม ฯลฯ)
14 หลายคนบอกว่า อารมณ์ของฉันเปลี่ยนไป (เบื่อง่าย, หงุดหงิดง่าย, ขี้รำคาญ ฯลฯ)
15 หลายคนบอกว่า พฤติกรรมของฉันเปลี่ยนไป (เถียงเก่ง, ไม่เชื่อฟัง, ไม่รับผิดชอบ ฯลฯ)
16 หลายคนบอกว่า ฉันติดเกม

 

 

M   E   N   T   A   L         H   E   A   L   T   H         S   C   R   E   E   N   I   N   G

GAST

ข้อมูลเพิ่มเติม »

 

นพ.ทวีศักดิ์ สิริรัตน์เรขา

นพ.ทวีศักดิ์ สิริรัตน์เรขา

จิตแพทย์เด็กและวัยรุ่น
การศึกษา

· แพทยศาสตร์บัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
· วุฒิบัตรแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ สาขาจิตเวชศาสตร์เด็กและวัยรุ่น (จุฬาฯ)

ข้อมูลเพิ่มเติม »

 

การคัดกรองสุขภาพจิต

การคัดกรองสุขภาพจิต

Mental Health Screening

ข้อมูลเพิ่มเติม »