HAPPY HOME CLINIC

ศูนย์วิชาการ แฮปปี้โฮม

รวบรวมและเผยแพร่ ข้อมูลความรู้ทางวิชาการ ที่เกี่ยวข้องในการพัฒนาเด็กและวัยรุ่น
รวมถึงการรับจัดฝึกอบรม สัมมนา กิจกรรมวิชาการ นิทรรศการเผยแพร่ความรู้
เพื่อเป็นการเรียนรู้ร่วมกันระหว่าง ผู้ปกครอง นักวิชาการ และประชาชนทั่วไปที่สนใจ

H   A   P   P   Y       H   O   M   E       A   C   A   D   E   M   Y

 

Savant Syndrome

 

นพ.ทวีศักดิ์ สิริรัตน์เรขา จิตแพทย์เด็กและวัยรุ่น

 

“ซาวองต์ซินโดรม” (savant syndrome) เป็นคำที่ใช้เรียก กลุ่มผู้ที่มีความบกพร่องทางพัฒนาการ (developmental disabilities) ในรูปแบบต่าง ๆ ที่มีความเป็นอัจฉริยะหรือความสามารถพิเศษเฉพาะด้านอยู่ในคนเดียวกัน ซึ่งมีความหลากหลายตั้งแต่ความสามารถแบบพิเศษ ไปจนถึงความสามารถแบบมหัศจรรย์

ซาวองต์ซินโดรมพบในกลุ่มออทิสติก (autism spectrum disorder) เป็นส่วนใหญ่ พบมากถึงร้อยละ 50 ซึ่งมักเรียกว่า “ออทิสติกซาวองต์” (autistic savant) อีกร้อยละ 50 พบในกลุ่มความบกพร่องทางพัฒนาการรูปแบบอื่น ๆ เช่น ความบกพร่องทางสติปัญญา (intellectual disability) การบาดเจ็บทางสมอง (brain injury) และโรคทางสมอง (brain disease) เป็นต้น

ซาวองต์ซินโดรม พบในเพศชายมากกว่าเพศหญิง 4 - 6 เท่า ซึ่งส่วนหนึ่งอาจเกิดจากข้อเท็จจริงที่ว่า ออทิสติกซึ่งเป็นส่วนใหญ่ของซาวองต์ซินโดรม พบในเพศชายมากกว่าเพศหญิง

ซาวองต์ซินโดรม พบในกลุ่มออทิสติกร้อยละ 10 และพบในเพศชายมากกว่าเพศหญิง 3.54 เท่า ในขณะที่พบในกลุ่มผู้บกพร่องทางสติปัญญาร้อยละ 0.6 หรือประมาณ 1 ใน 2,000 คน และพบในเพศชายมากกว่าเพศหญิง 6 เท่า

แรกเริ่มเดิมที ดร. John Langdon Down ซึ่งเป็นผู้ที่ทำให้โลกได้รู้จัก กลุ่มอาการดาวน์ หรือ ดาวน์ซินโดรม (Down syndrome) เป็นผู้ที่บัญญัติศัพท์คำว่า “อิเดียตซาวองต์” (idiot savant) ในปี พ.ศ. 2430 หรือกว่า 130 ปีมาแล้ว เพื่อใช้อธิบายให้ทราบถึง กลุ่มบุคคลที่มีความบกพร่องทางพัฒนาการหรือสติปัญญา แต่มีความสามารถพิเศษเฉพาะด้านด้วยในคนเดียวกัน โดยนำคำว่า “idiot” มารวมกับคำว่า “savant” ซึ่งมีรากศัพท์มาจากภาษาฝรั่งเศษ ว่า “savoir” แปลว่า “รู้” (to know) หรือ “ผู้รู้” (knowledgeable person)

เขาได้นำเสนอกรณีศึกษาทั้งหมด 10 ราย ซึ่งรวมถึงผู้ที่สามารถจดจำประวัติศาสตร์ของจักรวรรดิโรมันตั้งแต่เริ่มต้นจนล่มสลายได้ทุกตัวอักษรในหนังสือของ Edward Gibbon 6 เล่ม

ในภายหลัง คำว่า “idiot” ได้ถูกจำกัดความให้ใช้เฉพาะกับผู้ที่มีระดับสติปัญญา (IQ) ต่ำกว่า 25 จึงไม่สามารถใช้สื่อความหมายให้เข้าใจครอบคลุมถึงกลุ่มที่มีความบกพร่องของพัฒนาการรูปแบบอื่น ๆ และยังพบอีกว่า มีบางรายที่มีระดับสติปัญญาสูงกว่าเกณฑ์เฉลี่ยด้วย

ในปี พ.ศ. 2521 ดร. Darold Treffert จึงเสนอให้เปลี่ยนชื่อเรียก “อิเดียต ซาวองต์” (idiot savant) ซึ่งใช้กันมาเกือบ 100 ปี เป็นคำว่า “ซาวองต์ซินโดรม” (savant syndrome) และนิยมใช้กันเป็นการทั่วไปนับแต่นั้นเป็นต้นมา

สำหรับในต่างประเทศ ความสามารถพิเศษเฉพาะด้านที่พบบ่อยที่สุด คือ ความสามารถด้านดนตรี โดยเฉพาะการเล่นเปียโน รองลงมาเป็นความสามารถด้านศิลปะ ซึ่งมักเป็นสาขาทัศนศิลป์หรือการวาด นอกจากนี้ยังพบความสามารถในการคำนวณทางคณิตศาสตร์ ความสามารถในการคำนวณปฏิทิน และความสามารถด้านทักษะกลไกหรือมิติสัมพันธ์ สำหรับในประเทศไทยเองยังไม่ได้มีการศึกษาข้อมูลทางสถิติที่เพียงพอ

ในปี พ.ศ. 2532 ดร. Darold Treffert ได้แบ่งความสามารถพิเศษเฉพาะด้านในซาวองต์ซินโดรม ที่เรียกว่า “island of genius” ออกเป็น 5 ด้าน ซึ่งประกอบด้วย ดนตรี ศิลปะ คณิตศาสตร์ การคำนวณปฏิทิน และทักษะกลไก มิติสัมพันธ์

นอกจากนี้ยังมีความสามารถพิเศษในด้านอื่น ๆ ที่สามารถพบได้ แต่ไม่บ่อยนัก เช่น สามารถคาดการณ์เวลาได้แม่นยำโดยไม่ต้องดูนาฬิกา สามารถแยกแยะประสาทสัมผัสทางกาย แยกแยะกลิ่น ได้แม่นยำ สามารถรับรู้ข้ามประสาทสัมผัสได้ (synesthesia) มีทักษะการใช้ภาษาที่ดีมากในหลายภาษา (polyglot skills) หรือมีความรู้อย่างน่าทึ่งเฉพาะสาขา (exceptional skills) เช่น คอมพิวเตอร์ สถิติ เป็นต้น

ความเป็นอัจฉริยะ หรือความสามารถพิเศษเฉพาะด้านเหล่านี้ ส่วนใหญ่พบติดตัวมาตั้งแต่แรกเกิดเลยก็ว่าได้ เนื่องจาก พบได้ตั้งแต่อายุน้อย ๆ และไม่เคยมีใครสอนมาก่อนด้วย ในทางกลับกัน ก็อาจเกิดได้ในภายหลังได้เช่นเดียวกัน ทั้งในช่วงวัยเด็ก วัยผู้ใหญ่ หรือแม้กระทั่งในวัยสูงอายุ เกิดจากการฝึกฝน ทำซ้ำ ๆ หรืออาจพบได้ภายหลังการบาดเจ็บทางสมอง หรือเป็นโรคทางระบบประสาทส่วนกลาง

จากข้อมูลการลงทะเบียนซาวองต์ซินโดรม ใน 33 ประเทศ พบว่ามีความสามารถพิเศษได้ตั้งแต่อายุน้อย (congenital savants) ถึงร้อยละ 90 ในขณะที่พบในภายหลัง (acquired savants) ร้อยละ 10 และยังพบว่าร้อยละ 45 มีความสามารถพิเศษหลายด้าน

การเรียนรู้และฝึกฝนทักษะอย่างต่อเนื่อง พบว่า ช่วยพัฒนาความสามารถพิเศษได้มาก โดยเฉพาะทักษะด้านศิลปะและดนตรี จากเริ่มแรกเป็นการจดจำและทำซ้ำได้เหมือนต้นแบบ (duplication) สามารถพัฒนาจนมีไหวพริบ ปฏิภาณ (improvisation) มากขึ้น และสามารถริเริ่มสร้างสรรค์ (creation) ด้วยตนเองได้ในที่สุด

 

เอกสารอ้างอิง

Gururangan K. (2010). Savant syndrome: growth of empathy and creativity. Berkeley Scientific Journal. 13(2): 1-9

Jeon Y. (2016). Savant syndrome: a review of research findings. Culminating Projects in Special Education. 25. [Online]. Available URL: https://repository.stcloudstate.edu/sped_etds/25

Miller LK. (2005). What the savant syndrome can tell us about the nature and nurture of talent. Journal for the Education of the Gifted. 28(3): 361-73.

Treffert DA. (1988). The idiot savant: a review of the syndrome. Am J Psychiatry. 145: 563–72.

Treffert DA. (2009). The savant syndrome: an extraordinary condition. A synopsis: past, present, future. Philos Trans R Soc Lond B Biol Sci. 364(1522): 1351–7.

Treffert DA. (2014). Savant syndrome: realities, myths and misconceptions. J Autism Dev Disord. 44: 564–71.

Treffert DA. (2021). Savant syndrome: FAQs. [Online]. Available URL: http://www.agnesian.com/page/savant-syndrome-faqs

Treffert DA & Rebedew DL. (2015). The savant syndrome registry: a preliminary report. WMJ. 114(4): 158-62.

Treffert DA & Willace GL. (2006). Islands of genius. In: Scientific American exclusive online issue: uncommon genius. 31: 2-6.

 

ทวีศักดิ์ สิริรัตน์เรขา. (2565). ซาวองต์ ซินโดรม. จาก https://www.happyhomeclinic.com/savant02-savantsyndrome.html

(บทความต้นฉบับ: มกราคม 2565)

 

ดาวน์โหลดบทความ »
นพ.ทวีศักดิ์ สิริรัตน์เรขา

นพ.ทวีศักดิ์ สิริรัตน์เรขา

จิตแพทย์เด็กและวัยรุ่น
การศึกษา

· แพทยศาสตร์บัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
· วุฒิบัตรแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ สาขาจิตเวชศาสตร์เด็กและวัยรุ่น (จุฬาฯ)

ข้อมูลเพิ่มเติม »

 

Autism Spectrum Disorder

Autism Spectrum Disorder: FAQ

Genius & Autism

Savant Syndrome

Autistic Savant

Autistic Savant Level

Autistic Savant & Cognitive style

Autistic Savant & Care

Autistic Savant & Genetic

ข้อมูลเพิ่มเติม »

 

 

 

ศูนย์วิชาการ ออทิสติก

 

ศูนย์วิชาการ ออทิสติก

 

 

ศูนย์วิชาการ ออทิสติก

Autistic Academy

รวบรวมความรู้ที่เป็นปัจจุบัน เกี่ยวกับออทิสติก (Autism Spectrum Disorder) ในแง่มุมต่างๆ แนวทางการดูแลรักษาแบบบูรณาการ รวมถึงออทิสติกที่มีความสามารถพิเศษ

· ออทิสติก - Autism Spectrum Disorder
    · ออทิสติก 10 คำถาม
    · ออทิสติกแท้ ออทิสติกเทียม
    · ออทิสติก พบได้มากแค่ไหน
    · ออทิสติก เกิดจากอะไร
    · ออทิสติก ป้องกันได้ไหม
    · ออทิสติก โตแล้วเป็นอย่างไร
    · เรียนรู้และเข้าใจเด็กออทิสติก
    · พฤติกรรมแปลกๆของเด็กออทิสติก
    · การเลี้ยงดูเด็กออทิสติก
    · เมื่อเด็กออทิสติกถึงวัยเรียน
· แนวทางการดูแลออทิสติกแบบบูรณาการ
    · การส่งเสริมพลังครอบครัว ในออทิสติก
    · การส่งเสริมความสามารถ ในออทิสติก
    · การส่งเสริมพัฒนาการ ในออทิสติก
    · การปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ในออทิสติก
    · กิจกรรมบำบัด ในออทิสติก
    · แก้ไขการพูด ในออทิสติก
    · การฝึกทักษะสังคม ในออทิสติก
    · การฟื้นฟูสมรรถภาพทางการศึกษา ในออทิสติก
    · การฟื้นฟูสมรรถภาพทางอาชีพ ในออทิสติก
    · การรักษาด้วยยา ในออทิสติก
· การบำบัดทางเลือก ในออทิสติก
· เด็กออทิสติกกับการเล่นสมมติ
· พฤติกรรมการเล่นในเด็กออทิสติก
· แนวทางส่งเสริมการเล่นในเด็กออทิสติก
· แอสเพอร์เกอร์
· เมื่อลูกเป็นแอสเพอร์เกอร์ ซินโดรม
· พีดีดี เอ็นโอเอส
· ลิงก็เป็นออทิสติกได้
· หมาก็เป็นออทิสติกได้
· อัจฉริยะกับออทิสติก
· ซาวองต์ ซินโดรม
· ออทิสติก ซาวองต์
· ระดับความสามารถของอัจฉริยะออทิสติก
· รูปแบบการคิดของอัจฉริยะออทิสติก
· แนวทางการพัฒนาอัจฉริยะออทิสติก
· รหัสพันธุกรรมของอัจฉริยะออทิสติก
· การประเมิน อัจฉริยะออทิสติก
· Rain Man จากเรนแมน สู่ออทิสติก
· Good Doctor หมออัจฉริยะ ออทิสติก
· Move to Heaven สู่ความเข้าใจแอสเพอร์เกอร์
· Attorney Woo ทนายอัจฉริยะ ออทิสติก
· อัจฉริยะออทิสติก: คิม พีค
· อัจฉริยะออทิสติก: เทมเพิล แกรนดิน
· อัจฉริยะออทิสติก: สตีเฟน วิลท์เชียร์
· อัจฉริยะออทิสติก: แดเนียล แทมเมต

 

A   U   T   I   S   T   I   C       A   C   A   D   E   M   Y

 

 

Autism Spectrum Disorder   Autism Spectrum Disorder: FAQ   Autism Spectrum Disorder : Integrated care   Autism Spectrum Disorder : Family Empowerment   Autism Spectrum Disorder: Ability Enhancement   Autism Spectrum Disorder : Developmental Intervention   Autism Spectrum Disorder : Behavior Modification   Autism Spectrum Disorder: Occupational Therapy   Autism Spectrum Disorder : Speech Therapy   Autism Spectrum Disorder : Social Skill Training   Autism Spectrum Disorder: Educational Rehabilitation   Autism Spectrum Disorder : Vocational Rehabilitation   Autism Spectrum Disorder: Pharmacotherapy   Autism Spectrum Disorder: Alternative Therapy   Autism Spectrum Disorder: Understand   Autism Spectrum Disorder: Abnormal Behavior   Autism Spectrum Disorder: Child Rearing   Autism Spectrum Disorder: School Age   Autism Spectrum Disorder: Pretend Play   Autism Spectrum Disorder: Play Behavior   Autism Spectrum Disorder: Play Promotion  

คลิกเลือกเรื่องที่สนใจ

 

Genius & Autism   Savant Syndrome   Autistic Savant   Autistic Savant Level   Autistic Savant & Cognitive Style   Autistic Savant & Care   Autistic Savant & Genetic   Autistic Savant & Assessment   Good Doctor   Move to Heaven   Extraordinary Attorney Woo   Rain Man   Autistic Savant: Kim Peek   Autistic Savant: Temple Grandin   Autistic Savant: Stephen Wiltshire   Autistic Savant: Daniel Tammet   Asperger   Asperger Syndrome   PDD NOS   Autistic Monkey   Autistic Dog  

คลิกเลือกเรื่องที่สนใจ