HAPPY HOME CLINIC

ศูนย์วิชาการ แฮปปี้โฮม

รวบรวมและเผยแพร่ ข้อมูลความรู้ทางวิชาการ ที่เกี่ยวข้องในการพัฒนาเด็กและวัยรุ่น
รวมถึงการรับจัดฝึกอบรม สัมมนา กิจกรรมวิชาการ นิทรรศการเผยแพร่ความรู้
เพื่อเป็นการเรียนรู้ร่วมกันระหว่าง ผู้ปกครอง นักวิชาการ และประชาชนทั่วไปที่สนใจ

H   A   P   P   Y       H   O   M   E       A   C   A   D   E   M   Y

 

Autism Spectrum Disorder: Play Behavior

 

นพ.ทวีศักดิ์ สิริรัตน์เรขา จิตแพทย์เด็กและวัยรุ่น

การเล่นช่วยส่งเสริมพัฒนาการในทุกด้านของเด็ก ทั้งทางด้านร่างกาย สติปัญญา อารมณ์ สังคม และคุณธรรม การเล่นจึงเป็นสิ่งสำคัญมากต่อการพัฒนาของเด็กทุกคน

แต่ในเด็กออทิสติก การเล่นมักไม่สามารถพัฒนาเป็นไปตามขั้นตอนธรรมชาติ หรือลำดับขั้นของพัฒนาการด้านการเล่น เช่นเดียวกับเด็กทั่วไป เด็กมักขาดความสามารถในการเล่นที่เกิดขึ้นเองโดยธรรมชาติ และขาดจินตนาการ จึงทำให้มีข้อจำกัดในการเล่น เด็กมักเล่นไม่ถูกวิธี มีรูปแบบการเล่นซ้ำ ๆ ขาดความหลากหลาย เช่น สะบัดหรือหมุนของไปมา เทของเล่นกลับไปกลับมา เรียงของเล่นเป็นแถวยาว ฯลฯ เด็กไม่ค่อยเปลี่ยนรูปแบบการเล่น และไม่มีการเลียนแบบพฤติกรรมทางสังคม มักสนใจแต่รายละเอียดเล็ก ๆ น้อย ๆ หมกมุ่นกับบางสิ่งบางอย่างมากเกินความพอดี หรือเพ่งมองเฉพาะบางจุดนานเกินไป

เป็นธรรมดาสำหรับเด็กออทิสติกที่มักจะเลือกเล่นของเล่นตามช่องทางของระบบประสาทสัมผัสที่ถูกกระตุ้น เช่น การดม การชิม การฟัง การสัมผัส หรือนำมาจ้องมองดู แต่เด็กมักจะไม่ค่อยมีความผูกพันกับของเล่นเฉพาะอย่างเท่าที่ควร ไม่มีตุ๊กตาหรือหุ่นยนต์ตัวโปรด เด็กมักจะชอบเล่นของอย่างอื่นที่ไม่ใช่ของเล่นด้วยซ้ำ มักเป็นของใช้ที่หยิบได้ทั่ว ๆ ไปในบ้าน เช่น ขวดยา ผ้าพันแผล แก้วน้ำ กระป๋องแป้ง ปฏิทิน แผ่นโฆษณา เป็นต้น และในการเล่นของเล่น เด็กก็มักขาดจินตนาการในการเล่นที่ควรมีตามวัย

เด็กออทิสติกมีลักษณะเฉพาะตัว ที่ขัดขวางต่อพัฒนาการด้านการเล่น ดังนี้
1. เด็กที่มีทักษะทางด้านภาษาและการสื่อสารบกพร่อง ทำให้จำกัดบทบาทในการมีปฏิสัมพันธ์ทางการเล่น
2. เด็กมีความยากลำบากในการตีความหมาย หรือคาดเดาความคิด ความรู้สึก และพฤติกรรมของเด็กคนอื่น ๆ ซึ่งส่งผลกระทบต่อการสร้างมิตรภาพกับเพื่อน
3. เด็กมักขาดความสนใจในสิ่งรอบตัว ขาดความยืดหยุ่นในการเปลี่ยนแปลง มักจะต่อต้านต่อการสำรวจ หรือสรรหาการเล่นใหม่ ๆ ร่วมกับเพื่อน
4. เมื่อชักชวนให้เด็กมาเล่น แต่ระดับการเล่นของเขาต่ำกว่าของเด็กคนอื่น เด็กจึงไม่เข้าใจในสิ่งที่จะเล่น และเพื่อนก็ไม่สนใจที่จะเล่นด้วยเช่นกัน

การศึกษาวิจัยเกี่ยวกับพฤติกรรมการเล่นของเด็กออทิสติก ในระยะแรก ๆ เป็นการสังเกตเด็กเล่นในห้องสังเกตทดลองซึ่งได้จัดเตรียมขึ้น ไม่ใช่การสังเกตการเล่นตามธรรมชาติจริง ๆ พบว่า การเล่นที่พบส่วนใหญ่มักเป็น การเล่นสำรวจ ทดลอง เพื่อดูว่าของที่เล่นอยู่ใช้งานอย่างไร (exploratory play) และการเล่นรูปแบบเดิมซ้ำไปซ้ำมา แบบไร้เป้าหมาย (perseveration)

แต่การศึกษาวิจัยในช่วงหลัง เป็นการสังเกตการเล่นตามธรรมชาติของเด็ก ผลการศึกษาในโรงเรียนเรียนร่วม พบว่าพฤติกรรมการเล่นที่พบบ่อยที่สุดคือ การเล่นจำลองหน้าที่การทำงานของสิ่งของที่อยู่รอบตัว (functional play) รองลงมาคือการเล่นแบบมีโครงสร้าง มีรูปแบบ และเป้าหมายกำหนดไว้ชัดเจน (constructive play) และการเล่นสำรวจ ทดลอง (exploratory play) และที่สำคัญคือ แทบไม่เห็นการเล่นแบบจินตนาการเลย (make-believe play)

การเล่นจำลอง (functional play) ที่สังเกตเห็นส่วนใหญ่จะเป็นแบบต่างคนต่างเล่น รองลงมาคือ เล่นคนเดียว

เด็กออทิสติกจะมีทั้งเล่นคนเดียวและเล่นเป็นกลุ่ม แต่มักไม่ค่อยมีปฏิสัมพันธ์โต้ตอบกัน จากการศึกษาวิจัยพบว่าเด็กออทิสติกเล่นกับผู้ใหญ่เพียงร้อยละ 12 ของช่วงเวลา และเล่นกับเพื่อนเพียงร้อยละ 7 ของช่วงเวลา ทั้ง ๆ ที่มีความพยายามเข้าไปกระตุ้นและเล่นด้วยเป็นระยะแล้วก็ตาม

 

เอกสารอ้างอิง

ทวีศักดิ์ สิริรัตน์เรขา. (2561). คู่มือการดูแลเด็กออทิสติก. กรุงเทพฯ: บียอนด์ พับลิสชิ่ง.

Beyer J & Gammeltoft L. (2003). Autism and play. London: Jessica Kingsley Publishers.

Healis autism centre. (2021). Can Children with Autism Pretend Play? (Online). Available URL: https://www.healisautism.com/post/can-children-autism-pretend-play

Holmes E, & Willoughby T. (2005). Play behaviour of children with autism spectrum disorders. Journal of Intellectual & Developmental Disability, 30(3): 156-64.

Jordan, R. (2003). Social play and autistic spectrum disorders: a perspective on theory, implications and educational approaches. Autism, 7(4): 347-60.

Rutherford MD, Young GS, Hepburn S & Rogers SJ. (2006). A longitudinal study of pretend play in autism. Journal of Autism and Developmental Disorders, 37(6), 1024-39.

Volkmar FR, Van Schalkwyk GI & Van der Wyk B. (2018). Autism Spectrum Disorder. In: Lewis’s child and adolescent psychiatry: a comprehensive textbook, 5th ed. Martin A, Volkmar FR and Bloch M, eds. Philadelphia: Wolters Kluwer, pp. 1164-95.

 

 

ทวีศักดิ์ สิริรัตน์เรขา. (2565). พฤติกรรมการเล่นในเด็กออทิสติก. [Online]. Available URL: https://www.happyhomeclinic.com/au32-autistic-play-behavior.htm

(บทความต้นฉบับ: มีนาคม 2550)

 

ดาวน์โหลดบทความ »
นพ.ทวีศักดิ์ สิริรัตน์เรขา

นพ.ทวีศักดิ์ สิริรัตน์เรขา

จิตแพทย์เด็กและวัยรุ่น
การศึกษา

· แพทยศาสตร์บัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
· วุฒิบัตรแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ สาขาจิตเวชศาสตร์เด็กและวัยรุ่น (จุฬาฯ)

ข้อมูลเพิ่มเติม »

 

Autism Spectrum Disorder

Attention Deficit/ Hyperactivity Disorder

Specific Learning Disorder

Intellectual Disability

Child Development

Selective Mutism

Tourette's Disorder

Trichotillomania

ADHD-faq

alternative therapy

ข้อมูลเพิ่มเติม »

 

 

 

ศูนย์วิชาการ ออทิสติก

 

ศูนย์วิชาการ ออทิสติก

 

 

ศูนย์วิชาการ ออทิสติก

Autistic Academy

รวบรวมความรู้ที่เป็นปัจจุบัน เกี่ยวกับออทิสติก (Autism Spectrum Disorder) ในแง่มุมต่างๆ แนวทางการดูแลรักษาแบบบูรณาการ รวมถึงออทิสติกที่มีความสามารถพิเศษ

· ออทิสติก - Autism Spectrum Disorder
· ออทิสติก 10 คำถาม
· แนวทางการดูแลออทิสติกแบบบูรณาการ
    · การส่งเสริมพลังครอบครัว ในออทิสติก
    · การส่งเสริมความสามารถ ในออทิสติก
    · การส่งเสริมพัฒนาการ ในออทิสติก
    · การปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ในออทิสติก
    · กิจกรรมบำบัด ในออทิสติก
    · แก้ไขการพูด ในออทิสติก
    · การฝึกทักษะสังคม ในออทิสติก
    · การฟื้นฟูสมรรถภาพทางการศึกษา ในออทิสติก
    · การฟื้นฟูสมรรถภาพทางอาชีพ ในออทิสติก
    · การรักษาด้วยยา ในออทิสติก
· การบำบัดทางเลือก ในออทิสติก
· เรียนรู้และเข้าใจเด็กออทิสติก
· พฤติกรรมแปลกๆ ของเด็กออทิสติก
· การเลี้ยงดูเด็กออทิสติก
· เมื่อเด็กออทิสติกถึงวัยเรียน
· เด็กออทิสติกกับการเล่นสมมติ
· พฤติกรรมการเล่นในเด็กออทิสติก
· แนวทางส่งเสริมการเล่นในเด็กออทิสติก
· แอสเพอร์เกอร์
· เมื่อลูกเป็นแอสเพอร์เกอร์ ซินโดรม
· พีดีดี เอ็นโอเอส
· ลิงก็เป็นออทิสติกได้
· หมาก็เป็นออทิสติกได้
· อัจฉริยะกับออทิสติก
· ซาวองต์ ซินโดรม
· ออทิสติก ซาวองต์
· ระดับความสามารถของอัจฉริยะออทิสติก
· รูปแบบการคิดของอัจฉริยะออทิสติก
· แนวทางการพัฒนาอัจฉริยะออทิสติก
· รหัสพันธุกรรมของอัจฉริยะออทิสติก
· การประเมิน อัจฉริยะออทิสติก
· Rain Man จากเรนแมน สู่ออทิสติก
· Good Doctor หมออัจฉริยะ ออทิสติก
· Move to Heaven สู่ความเข้าใจแอสเพอร์เกอร์
· อัจฉริยะออทิสติก: คิม พีค
· อัจฉริยะออทิสติก: เทมเพิล แกรนดิน
· อัจฉริยะออทิสติก: สตีเฟน วิลท์เชียร์
· อัจฉริยะออทิสติก: แดเนียล แทมเมต

 

A   U   T   I   S   T   I   C       A   C   A   D   E   M   Y

 

 

ออทิสติก   ออทิสติก 10 คำถาม   แนวทางการดูแลออทิสติกแบบบูรณาการ   การส่งเสริมพลังครอบครัว ในออทิสติก   การส่งเสริมความสามารถ ในออทิสติก   การส่งเสริมพัฒนาการ ในออทิสติก   การปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ในออทิสติก   กิจกรรมบำบัด ในออทิสติก   แก้ไขการพูด ในออทิสติก   การฝึกทักษะสังคม ในออทิสติก   การฟื้นฟูสมรรถภาพทางการศึกษา ในออทิสติก   การฟื้นฟูสมรรถภาพทางอาชีพ ในออทิสติก   การรักษาด้วยยา ในออทิสติก   การบำบัดทางเลือก ในออทิสติก   เรียนรู้และเข้าใจเด็กออทิสติก   พฤติกรรมแปลกๆ ของเด็กออทิสติก   การเลี้ยงดูเด็กออทิสติก   เมื่อเด็กออทิสติกถึงวัยเรียน  

คลิกเลือกเรื่องที่สนใจ

 

อัจฉริยะกับออทิสติก   ซาวองต์ ซินโดรม   ออทิสติก ซาวองต์   ระดับความสามารถของอัจฉริยะออทิสติก   รูปแบบการคิดของอัจฉริยะออทิสติก   แนวทางการพัฒนาอัจฉริยะออทิสติก   รหัสพันธุกรรมของอัจฉริยะออทิสติก   การประเมิน อัจฉริยะออทิสติก   Move to Heaven สู่ความเข้าใจแอสเพอร์เกอร์   Good Doctor หมออัจฉริยะ ออทิสติก   Rain Man จากเรนแมน สู่ออทิสติก   อัจฉริยะออทิสติก: คิม พีค   อัจฉริยะออทิสติก: เทมเพิล แกรนดิน   อัจฉริยะออทิสติก: สตีเฟน วิลท์เชียร์   อัจฉริยะออทิสติก: แดเนียล แทมเมต   แอสเพอร์เกอร์   เมื่อลูกเป็นแอสเพอร์เกอร์ ซินโดรม   พีดีดี เอ็นโอเอส  

คลิกเลือกเรื่องที่สนใจ