HAPPY HOME CLINIC

ศูนย์วิชาการ แฮปปี้โฮม

รวบรวมและเผยแพร่ ข้อมูลความรู้ทางวิชาการ ที่เกี่ยวข้องในการพัฒนาเด็กและวัยรุ่น
รวมถึงการรับจัดฝึกอบรม สัมมนา กิจกรรมวิชาการ นิทรรศการเผยแพร่ความรู้
เพื่อเป็นการเรียนรู้ร่วมกันระหว่าง ผู้ปกครอง นักวิชาการ และประชาชนทั่วไปที่สนใจ

H   A   P   P   Y       H   O   M   E       A   C   A   D   E   M   Y

 

Autism Spectrum Disorder: Pretend Play

 

นพ.ทวีศักดิ์ สิริรัตน์เรขา จิตแพทย์เด็กและวัยรุ่น

การเล่นสมมติ (pretend play) เป็นการสมมติการเล่นต่าง ๆ ตามจินตนาการ ได้แก่ การสมมติบล็อกไม้เป็นรถยนต์ สมมติเชือกเป็นรถไฟ สมมติกล่องเป็นเรือ หรือเล่นตุ๊กตา สมมติเป็นครอบครัวมี พ่อ แม่ ลูก ป้อนอาหารให้ตุ๊กตา เด็กจะเล่นสมมติเป็นเมื่อมีพัฒนาการทางสติปัญญาเพียงพอที่จะเข้าใจได้ว่า คนรอบข้างคิดอย่างไร แล้วจินตนาการตามความคิดนั้น

การที่เด็กจะเล่นสมมติเป็น จะต้องค่อย ๆ พัฒนาผ่านลำดับพัฒนาการด้านการเล่นทีละขั้น ดังนี้
  1. การเล่นสัมผัสและเคลื่อนไหว (sensorimotor play)
  2. การเล่นจัดระบบ (organizing play)
  3. การเล่นจำลอง (functional play)
  4. การเล่นสมมติ (pretend play)

โดยทั่วไปเด็กจะเริ่มเข้าใจการเล่นสมมติและเล่นให้เห็นบ้าง ตั้งแต่ช่วงอายุ 12-18 เดือน และค่อย ๆ พัฒนาจนเล่นสมมติได้เอง หรือเล่นสมมติร่วมกับเพื่อนได้ ภายในอายุ 3 ปี แต่การเล่นของเด็กออทิสติกมักพัฒนามาไม่ถึงการเล่นสมมติ เด็กบางคนสามารถเล่นสมมติได้ แต่อาจพัฒนาล่าช้ากว่าเด็กวัยเดียวกัน และคุณภาพของการเล่นสมมติไม่ค่อยมาก จะจำกัดการสมมติอยู่ไม่กี่เรื่อง และเป็นรูปแบบซ้ำ ๆ

เด็กออทิสติกมักจะทำได้เพียงแค่การเล่นจำลอง ตามหน้าที่การทำงานของสิ่งรอบตัวเท่านั้น และดูคล้ายจะเล่นสมมติเป็นบ้างในกรณีที่เล่นเลียนแบบจากรายการโทรทัศน์หรือช่องยูทูปที่เด็กสนใจมากเป็นพิเศษ แต่ก็ยังถือเป็นเพียงการเลียนแบบ ไม่ใช่การสมมติขึ้นมาเอง

ในเด็กออทิสติกบางคน พัฒนาการด้านการเล่นหยุดชะงักแค่ขั้นของการเล่นสัมผัสและเคลื่อนไหว คือ หยิบจับอะไรได้ก็จะเอามาดม เอามาใส่ปาก หรือเคาะให้มีเสียงดัง เด็กบางคนก็จะหยุดชะงักที่การเล่นจัดระบบ คือ ชอบเอาของมาเรียงเป็นแถว ซึ่งพบได้ค่อนข้างบ่อยเช่นกัน

ปัญหาการเล่นสมมติในเด็กออทิสติก มีงานวิจัยที่ให้คำอธิบายเกี่ยวกับเรื่องนี้หลายการศึกษา ที่สำคัญคือ

1. Leo Kanner (1943) ได้บรรยายถึงกลุ่มอาการออทิสติก ว่ามีลักษณะสำคัญข้อหนึ่งคือ มีข้อจำกัดด้านความสามารถในการเล่น

2. Lorna Wing และคณะ (1979) ชี้ให้เห็นว่า มีเด็กออทิสติกน้อยมากที่เล่นสมมติเป็น ส่วนเด็กที่มีปัญหาพัฒนาการอื่น ๆ ที่ไม่ใช่ออทิสติก จะสามารถเล่นสมมติได้เหมาะสมตามระดับอายุของพัฒนาการ

3. Simon Baron–Cohen และคณะ (1985) ผู้นำเสนอทฤษฎีที่เรียกว่า “Theory of Mind” กล่าวว่าการเล่นสมมติมีความเชื่อมโยงกับความสามารถในการคิดว่า “คนอื่นมีความคิด และการรับรู้ ที่แตกต่างไปจากตนเอง”

คำถามที่ยังไม่มีความชัดเจนในคำตอบ คือ การเล่นสมมติไม่เป็นในเด็กออทิสติก เกิดจากความบกพร่องในการตอบสนองทางอารมณ์ หรือเกิดจากความบกพร่องในการคิดจินตนาการ ซึ่งมีสมมติฐานที่กล่าวถึง ดังนี้

สมมติฐานด้านแรงจูงใจ (Motivational Hypothesis) ชี้ให้เห็นว่า ถ้าปล่อยให้เด็กออทิสติกเล่นแบบอิสระ เด็กจะไม่ค่อยเล่น แต่จะมีพัฒนาการด้านการเล่นดีขึ้น ถ้ามีการให้แรงเสริม แรงจูงใจ หรือ จัดรูปแบบการเล่น เป็นโครงสร้างที่ชัดเจนให้

สมมติฐานด้านสมรรถนะ (Competence Hypothesis) ชี้ให้เห็นว่า เด็กออทิสติกจะด้อยความสามารถในการจินตนาการ ไม่สามารถจินตนาการได้ว่า ตุ๊กตาชอบทานไอศกรีม ตุ๊กตาอยากไปซื้อของเล่น ซึ่งเกิดจากการที่สมองไม่สามารถส่งผ่านความคิด ความต้องการของตนเอง สมมติออกมาเป็นการเล่นได้เหมือนเด็กทั่วไป

การเล่นสมมติจะช่วยเพิ่มความสามารถทางสติปัญญาและทักษะทางสังคมให้กับเด็ก ช่วยในเรื่องการคิดจินตนาการ และความจำ ช่วยให้สามารถคิดเกี่ยวกับอดีต ปัจจุบัน และอนาคตได้ นอกจากนี้ยังพบว่าทักษะในการใช้ภาษาเพื่อสื่อความหมายได้อย่างเหมาะสม ถูกกาลเทศะ (pragmatic language skills) จะพัฒนาได้ดีเพียงไร ขึ้นอยู่กับความสามารถในการสมมติ และการใช้สัญลักษณ์ต่าง ๆ ที่เด็กแสดงให้เห็นในการเล่น

การเล่นของเด็กออทิสติกที่พัฒนามาไม่ถึงการเล่นสมมติ จึงส่งผลต่อความสามารถทางสติปัญญา ทักษะทางสังคม และทักษะการสื่อความหมาย ดังนั้น การส่งเสริมศักยภาพเด็กออทิสติกผ่านการเล่น ฝึกฝนจนสามารถเข้าใจและเล่นสมมติเป็น จึงเป็นเรื่องสำคัญที่ไม่ควรละเลย

 

เอกสารอ้างอิง

ทวีศักดิ์ สิริรัตน์เรขา. (2561). คู่มือการดูแลเด็กออทิสติก. กรุงเทพฯ: บียอนด์ พับลิสชิ่ง.

Beyer J & Gammeltoft L. (2003). Autism and play. London: Jessica Kingsley Publishers.

Healis autism centre. (2021). Can Children with Autism Pretend Play? (Online). Available URL: https://www.healisautism.com/post/can-children-autism-pretend-play

Holmes E, & Willoughby T. (2005). Play behaviour of children with autism spectrum disorders. Journal of Intellectual & Developmental Disability, 30(3): 156-64.

Rutherford MD, Young GS, Hepburn S & Rogers SJ. (2006). A longitudinal study of pretend play in autism. Journal of Autism and Developmental Disorders, 37(6), 1024-39.

Volkmar FR, Van Schalkwyk GI & Van der Wyk B. (2018). Autism Spectrum Disorder. In: Lewis’s child and adolescent psychiatry: a comprehensive textbook, 5th ed. Martin A, Volkmar FR and Bloch M, eds. Philadelphia: Wolters Kluwer, pp. 1164-95.

 

ทวีศักดิ์ สิริรัตน์เรขา. (2565). เด็กออทิสติกกับการเล่นสมมติ. [Online]. Available URL: https://www.happyhomeclinic.com/au31-autistic-pretend-play.htm

(บทความต้นฉบับ: มีนาคม 2550)

 

ดาวน์โหลดบทความ »
นพ.ทวีศักดิ์ สิริรัตน์เรขา

นพ.ทวีศักดิ์ สิริรัตน์เรขา

จิตแพทย์เด็กและวัยรุ่น
การศึกษา

· แพทยศาสตร์บัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
· วุฒิบัตรแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ สาขาจิตเวชศาสตร์เด็กและวัยรุ่น (จุฬาฯ)

ข้อมูลเพิ่มเติม »

 

Autism Spectrum Disorder

Attention Deficit/ Hyperactivity Disorder

Specific Learning Disorder

Intellectual Disability

Child Development

Selective Mutism

Tourette's Disorder

Trichotillomania

ADHD-faq

alternative therapy

ข้อมูลเพิ่มเติม »

 

 

 

ศูนย์วิชาการ ออทิสติก

 

ศูนย์วิชาการ ออทิสติก

 

 

ศูนย์วิชาการ ออทิสติก

Autistic Academy

รวบรวมความรู้ที่เป็นปัจจุบัน เกี่ยวกับออทิสติก (Autism Spectrum Disorder) ในแง่มุมต่างๆ แนวทางการดูแลรักษาแบบบูรณาการ รวมถึงออทิสติกที่มีความสามารถพิเศษ

· ออทิสติก - Autism Spectrum Disorder
· ออทิสติก 10 คำถาม
· แนวทางการดูแลออทิสติกแบบบูรณาการ
    · การส่งเสริมพลังครอบครัว ในออทิสติก
    · การส่งเสริมความสามารถ ในออทิสติก
    · การส่งเสริมพัฒนาการ ในออทิสติก
    · การปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ในออทิสติก
    · กิจกรรมบำบัด ในออทิสติก
    · แก้ไขการพูด ในออทิสติก
    · การฝึกทักษะสังคม ในออทิสติก
    · การฟื้นฟูสมรรถภาพทางการศึกษา ในออทิสติก
    · การฟื้นฟูสมรรถภาพทางอาชีพ ในออทิสติก
    · การรักษาด้วยยา ในออทิสติก
· การบำบัดทางเลือก ในออทิสติก
· เรียนรู้และเข้าใจเด็กออทิสติก
· พฤติกรรมแปลกๆ ของเด็กออทิสติก
· การเลี้ยงดูเด็กออทิสติก
· เมื่อเด็กออทิสติกถึงวัยเรียน
· เด็กออทิสติกกับการเล่นสมมติ
· พฤติกรรมการเล่นในเด็กออทิสติก
· แนวทางส่งเสริมการเล่นในเด็กออทิสติก
· แอสเพอร์เกอร์
· เมื่อลูกเป็นแอสเพอร์เกอร์ ซินโดรม
· พีดีดี เอ็นโอเอส
· ลิงก็เป็นออทิสติกได้
· หมาก็เป็นออทิสติกได้
· อัจฉริยะกับออทิสติก
· ซาวองต์ ซินโดรม
· ออทิสติก ซาวองต์
· ระดับความสามารถของอัจฉริยะออทิสติก
· รูปแบบการคิดของอัจฉริยะออทิสติก
· แนวทางการพัฒนาอัจฉริยะออทิสติก
· รหัสพันธุกรรมของอัจฉริยะออทิสติก
· การประเมิน อัจฉริยะออทิสติก
· Rain Man จากเรนแมน สู่ออทิสติก
· Good Doctor หมออัจฉริยะ ออทิสติก
· Move to Heaven สู่ความเข้าใจแอสเพอร์เกอร์
· อัจฉริยะออทิสติก: คิม พีค
· อัจฉริยะออทิสติก: เทมเพิล แกรนดิน
· อัจฉริยะออทิสติก: สตีเฟน วิลท์เชียร์
· อัจฉริยะออทิสติก: แดเนียล แทมเมต

 

A   U   T   I   S   T   I   C       A   C   A   D   E   M   Y

 

 

ออทิสติก   ออทิสติก 10 คำถาม   แนวทางการดูแลออทิสติกแบบบูรณาการ   การส่งเสริมพลังครอบครัว ในออทิสติก   การส่งเสริมความสามารถ ในออทิสติก   การส่งเสริมพัฒนาการ ในออทิสติก   การปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ในออทิสติก   กิจกรรมบำบัด ในออทิสติก   แก้ไขการพูด ในออทิสติก   การฝึกทักษะสังคม ในออทิสติก   การฟื้นฟูสมรรถภาพทางการศึกษา ในออทิสติก   การฟื้นฟูสมรรถภาพทางอาชีพ ในออทิสติก   การรักษาด้วยยา ในออทิสติก   การบำบัดทางเลือก ในออทิสติก   เรียนรู้และเข้าใจเด็กออทิสติก   พฤติกรรมแปลกๆ ของเด็กออทิสติก   การเลี้ยงดูเด็กออทิสติก   เมื่อเด็กออทิสติกถึงวัยเรียน  

คลิกเลือกเรื่องที่สนใจ

 

อัจฉริยะกับออทิสติก   ซาวองต์ ซินโดรม   ออทิสติก ซาวองต์   ระดับความสามารถของอัจฉริยะออทิสติก   รูปแบบการคิดของอัจฉริยะออทิสติก   แนวทางการพัฒนาอัจฉริยะออทิสติก   รหัสพันธุกรรมของอัจฉริยะออทิสติก   การประเมิน อัจฉริยะออทิสติก   Move to Heaven สู่ความเข้าใจแอสเพอร์เกอร์   Good Doctor หมออัจฉริยะ ออทิสติก   Rain Man จากเรนแมน สู่ออทิสติก   อัจฉริยะออทิสติก: คิม พีค   อัจฉริยะออทิสติก: เทมเพิล แกรนดิน   อัจฉริยะออทิสติก: สตีเฟน วิลท์เชียร์   อัจฉริยะออทิสติก: แดเนียล แทมเมต   แอสเพอร์เกอร์   เมื่อลูกเป็นแอสเพอร์เกอร์ ซินโดรม   พีดีดี เอ็นโอเอส  

คลิกเลือกเรื่องที่สนใจ