HAPPY HOME CLINIC

ศูนย์วิชาการ แฮปปี้โฮม

รวบรวมและเผยแพร่ ข้อมูลความรู้ทางวิชาการ ที่เกี่ยวข้องในการพัฒนาเด็กและวัยรุ่น
รวมถึงการรับจัดฝึกอบรม สัมมนา กิจกรรมวิชาการ นิทรรศการเผยแพร่ความรู้
เพื่อเป็นการเรียนรู้ร่วมกันระหว่าง ผู้ปกครอง นักวิชาการ และประชาชนทั่วไปที่สนใจ

H   A   P   P   Y       H   O   M   E       A   C   A   D   E   M   Y

 

Autism

 

นพ.ทวีศักดิ์ สิริรัตน์เรขา จิตแพทย์เด็กและวัยรุ่น

 

พ่อแม่บางคนยังอาจทำใจไม่ได้ หรือไม่รู้ว่าจะทำอย่างไร เมื่อลูกที่เป็นออทิสติกออกนอกบ้านแล้วแสดงพฤติกรรมแปลก ๆ ไม่เหมาะสม ในที่สาธารณะ ซึ่งอาจทำให้รู้สึกอายและน้อยใจที่คนอื่นไม่เข้าใจในความเป็นเด็กออทิสติก เราจะช่วยให้เด็กออทิสติกได้ใช้ชีวิตร่วมในสังคมโดยปกติได้อย่างไร มีคำแนะนำดังนี้

 

การให้ลูกที่เป็นออทิสติกอยู่แต่ในบ้าน ไม่กล้าพาออกไปสู่สังคมภายนอก จะส่งผลเสียต่อเด็กอย่างไร

เป็นที่ทราบกันอยู่แล้วว่าปัญหาที่สำคัญของเด็กออทิสติก คือ มีความบกพร่องในทักษะทางสังคม ไม่ค่อยมองหน้าสบตา ไม่ค่อยตอบสนองเวลาเรียก เล่นกับเด็กวัยเดียวกันไม่เป็น ไม่เข้าใจกฎกติกาทางสังคม ซึ่งการเสริมสร้างทักษะสังคมที่ดีที่สุดคือการสอนในสถานการณ์จริง ยิ่งมีสถานการณ์หลากหลายให้เรียนรู้มากเท่าไหร่ เด็กก็จะยิ่งเข้าใจมากขึ้น แสดงออกในสถานการณ์ที่แตกต่างกัน ได้เหมาะสมมากยิ่งขึ้น

ถ้าเด็กอยู่แต่ในบ้าน เด็กก็ไม่มีโอกาสได้เห็นความหลากหลาย ความแตกต่าง มีเพียงการแสดงออกในรูปแบบซ้ำ ๆ เดิม เปรียบเสมือนอยู่ในโลกของตัวเองอีก ไม่สนใจสิ่งแวดล้อม มีการกระตุ้นตัวเอง และมีพฤติกรรมแปลก ๆ ที่ไม่เหมาะสมตามมา

เมื่อเด็กออกนอกบ้าน เด็กก็มีโอกาสได้พบเจอผู้คนที่หลากหลาย ทำให้รู้ถึงความแตกต่างของแต่ละคน ได้เห็นตัวอย่างที่เหมาะสมจากเด็กวัยเดียวกัน ได้มีโอกาสเรียนรู้ว่าเด็กคนอื่นทำอะไร เล่นอะไร และเกิดการเลียนแบบตามมา

การที่พาเด็กออกนอกบ้าน เด็กอาจไปเลียนแบบพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมบางอย่างกลับมาบ้าง แต่ก็ถือว่าเป็นโอกาสดีที่เราจะได้สอน และปรับแก้ไขให้เหมาะสม ทำให้เกิดระบวนการเรียนรู้และพัฒนาต่อไป

 

การบอกคนภายนอกให้เข้าใจว่า ลูกของเราเป็นอะไร ต้องทำอย่างไร

ในการบอกควรพูดถึงทั้งสองด้าน คือ ปัญหาบางอย่างของเด็กที่มีอยู่ และความสามารถที่เด็กมีอยู่ว่าเด็กทำอะไรได้บ้าง แล้วสรุปว่าอาการเหล่านี้เรียกว่าออทิสติก ซึ่งเป็นปัญหาด้านพัฒนาการรูปแบบหนึ่ง เป็นอาการที่สามารถช่วยเหลือให้ดีขึ้นได้ และทุกคนที่รู้จักเด็กสามารถช่วยเหลือเด็กให้ดีขึ้นได้มากด้วย โดยการเข้ามาเล่น เข้ามาพูดคุยทักทาย และชักชวนทำกิจกรรมต่าง ๆ อย่างน้อยที่สุดคือการเปิดโอกาสให้เด็กอยู่ร่วมกับเด็กคนอื่น เพื่อให้เกิดการเรียนรู้ร่วมกัน เลียนแบบสิ่งที่เหมาะสม และมีพัฒนาการที่ดีต่อไป

การบอกคนภายนอกให้เข้าใจว่า ลูกของเราเป็นอะไร จะต้องบอกมากน้อยแค่ไหนขึ้นอยู่กับความเกี่ยวข้องกับตัวเด็กด้วย ถ้าเป็นผู้เกี่ยวข้องโดยตรง เช่น คุณครู ก็อาจต้องทำความเข้าใจในระดับที่ละเอียดลึกซึ้งขึ้น เพื่อที่จะได้ช่วยสนับสนุน ส่งเสริมการเรียนรู้ของเด็กในแนวทางที่เหมาะสม

สิ่งที่สำคัญ คือ อย่ามัวแต่บอกคนอื่นให้เข้าใจ เห็นใจ โดยที่เราไม่ฝึกอะไรลูกของเราเลย เพราะเมื่อพฤติกรรมแปลก ๆ เกิดซ้ำ ๆ จนรบกวนคนอื่นเป็นประจำ เขาก็มีขีดจำกัดของความอดทนเช่นเดียวกัน

 

เมื่อเด็กออทิสติกแสดงพฤติกรรมแปลก ๆ ในที่สาธารณะ เราจะตักเตือนลูกในเรื่องนี้อย่างไร

เมื่อเด็กออทิสติกแสดงพฤติกรรมแปลก ๆ หรือไม่เหมาะสม ในที่สาธารณะ ควรบอกให้เด็กทราบทุกครั้งว่า ไม่ควรทำอะไร ควรทำอย่างไร เพราะอะไร ใช้คำพูดสั้น ๆ กระชับ ฟังเข้าใจง่าย พูดด้วยน้ำเสียงและท่าทีที่เอาจริงเอาจัง เสียงดังพอประมาณ แต่ไม่ถึงกับต้องดุหรือต่อว่าเด็กรุนแรง ไม่ควรทำโทษ จากนั้นก็เบี่ยงเบนความสนใจใปในกิจกรรมอื่นแทน

เนื่องจากเด็กมีปัญหาในการเข้าใจความเหมาะสมทางสังคม จึงมีความจำเป็นที่จะต้องบอกเด็กให้ทราบทุกครั้ง ว่าไม่เหมาะสมเพราะอะไร และที่เหมาะสมคืออะไร ถ้าจะให้ดี ควรให้เด็กได้ทำพฤติกรรมที่เหมาะสมให้ดูด้วย

แต่วิธีการที่ดีที่สุดในการแก้ไข คือ การบอกให้เด็กรู้ล่วงหน้าก่อน ว่าจะพาไปที่ไหน จะต้องเจออะไรบ้าง แล้วจะต้องทำอย่างไร เพื่อลดความตื่นเต้นของเด็ก ซึ่งจะช่วยให้เด็กควบคุมตัวเองได้ดีขึ้น

 

ในที่สาธารณะที่พลุกพล่านด้วยผู้คน ควรหรือไม่ที่นำลูกของเราไปสถานที่นั้น

ขึ้นอยู่กับความพร้อมของเด็กแต่ละคนมากกว่า เด็กที่ยังควบคุมตัวเองได้ไม่ดี ไม่นิ่ง วิ่งไปมา ตื่นเต้นง่าย อาจยังไม่เหมาะสมที่จะพาไปในสถานที่ที่มีคนพลุกพล่าน ควรฝึกฝนเด็กเพิ่มเติมอีกระยะหนึ่งให้นิ่งได้พอสมควร เลือกพาไปในที่สาธารณะได้ แต่ควรเป็นที่ค่อนข้างสงบ ไม่มีคนพลุกพล่านมากเกินไป อาจเป็นสนามเด็กเล่นช่วงเวลาที่มีเด็กไม่มาก และควรมีคนที่สามารถประกบเด็กอย่างใกล้ชิดตลอดเวลา

สำหรับเด็กที่ได้รับการฝึกฝนมาเป็นอย่างดี มีความนิ่งพอสมควร สามารถควบคุมตัวเองได้ดีพอ ไม่ตื่นเต้นง่าย ก็สามารถพาเด็กไปได้ในทุกที่ เพื่อให้เด็กมีโอกาสเรียนรู้การอยู่ร่วมในสังคม พบกับผู้คนและสถานที่ที่หลากหลาย แต่ควรมีการเตรียมตัวล่วงหน้า และบอกเด็กให้รู้ล่วงหน้าก่อนเสมอ

 

ข้อควรระวังในการพาเด็กออทิสติกไปในที่สาธารณะ

ในการพาเด็กออทิสติกไปในที่สาธารณะ มีข้อพึงระวังบ้างบางประการ แต่ไม่ควรถึงกับระแวงจนไม่กล้าพาไปไหนเลย สิ่งที่ต้องระวังมากที่สุด คือ อันตราย เนื่องจากเด็กยังอาจแยกแยะไม่ได้ว่า อะไรเป็นอันตรายหรือไม่เพียงไร เช่น เห็นหมาดุ ๆ เห่าเสียงดัง อาจจะวิ่งเข้าไปจับ อาจปีนป่ายขึ้นสูง ๆ หรือเดินออกนอกถนน เป็นต้น

ดังนั้นการประกบดูแลเด็กอย่างใกล้ชิดจึงมีความจำเป็นอย่างมาก และคอยพูดบอกถึงอันตรายที่มีโอกาสเกิดขึ้นพร้อมกับสิ่งที่ต้องทำหรือทำไม่ได้ เช่น “หมาตัวนี้ดุ ไม่เข้าใกล้” “ปีนสูงถ้าตกลงมา จะเจ็บหัวปูด” “ไม่เดินออกไปบนถนนเอง จะโดนรถชนเจ็บ”

และที่สำคัญมาก เด็กอาจตื่นเต้น ตกใจ และอารมณ์รุนแรงขึ้น เมื่อไปในสถานที่ไม่คุ้นเคย หรือพบปะผู้คนที่ไม่คุ้นเคย หรือพบเจอกับสิ่งที่ไม่ชอบหรือกลัว ดังนั้น ควรมีการเตรียมตัวเด็กล่วงหน้าก่อนออกจากบ้าน เล่าให้ฟังถึงสถานที่ที่จะไป จะได้เจออะไรบ้าง ถ้ามีรูปภาพประกอบด้วยยิ่งดี ถ้ามีการเตรียมความพร้อมล่วงหน้า เด็กก็จะสงบ และสามารถควบคุมตนเองได้ดี

 

การสอนมารยาททางสังคมให้เด็กออทิสติก มีวิธีการอย่างไร

วิธีการสอนมารยาททางสังคมที่ดีที่สุด คือการสอนจากสถานการณ์ในชีวิตประจำวันจริง ๆ เมื่อเด็กทำอะไรที่ไม่เหมาะสม ให้พูดบอกและเตือนในทันที ด้วยท่าทีที่จริงจัง เสียงดังที่พอเหมาะ แล้วให้เด็กทำสิ่งที่เหมาะสมให้ดู หรือถ้าเด็กยังทำไม่ได้ อาจทำให้ดูเป็นตัวอย่าง แล้วจับทำ เพื่อให้เด็กได้คุ้นเคยกับการทำในสิ่งที่ถูกต้องก่อน

เช่น ถ้าเด็กไม่ยอมสวัสดีทักทาย หรือสวัสดีไม่ตรงคน ไม่มองหน้า ให้บอกเด็กทำซ้ำใหม่อีกครั้ง ถ้ายังไม่ถูกต้องให้จับมือเด็กทำ แล้วอย่าลืมชมเชยเด็กด้วย

ควรมีการสอนโดยใช้บทบาทสมมติในเหตุการณ์ที่หลากหลาย โดยฝึกทั้งท่าทางและคำพูด เริ่มจากการทำให้เด็กดูเป็นตัวอย่างก่อน หรือพาไปดูตัวอย่างที่เด็กคนอื่นทำหรือพูด แล้วให้เด็กทำตามในสถานการณ์ที่กำหนด มีการสอนให้ท่องจำตัวอย่างคำพูดที่เหมาะสม ที่จะใช้ในสถานการณ์ต่าง ๆ เช่น เวลาเจอเพื่อนจะเข้าไปทักทายอย่างไร เวลาเพื่อนเรียกจะตอบสนองอย่างไร เวลาอยากเข้าไปเล่นในกลุ่มเพื่อนจะต้องพูดว่าอะไร เป็นต้น หมั่นฝึกฝนซ้ำ ๆ อย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอ

 

ทวีศักดิ์ สิริรัตน์เรขา. (2565). พฤติกรรมแปลกๆ ของเด็กออทิสติก. จาก https://www.happyhomeclinic.com/au07-abnormalbeh.htm

(บทความต้นฉบับ: มีนาคม 2549)

 

ดาวน์โหลดบทความ »
นพ.ทวีศักดิ์ สิริรัตน์เรขา

นพ.ทวีศักดิ์ สิริรัตน์เรขา

จิตแพทย์เด็กและวัยรุ่น
การศึกษา

· แพทยศาสตร์บัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
· วุฒิบัตรแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ สาขาจิตเวชศาสตร์เด็กและวัยรุ่น (จุฬาฯ)

ข้อมูลเพิ่มเติม »

 

Autism Spectrum Disorder

Attention Deficit/ Hyperactivity Disorder

Specific Learning Disorder

Intellectual Disability

Child Development

Selective Mutism

Tourette's Disorder

Trichotillomania

ADHD-faq

alternative therapy

ข้อมูลเพิ่มเติม »

 

 

 

ศูนย์วิชาการ ออทิสติก

 

ศูนย์วิชาการ ออทิสติก

 

 

ศูนย์วิชาการ ออทิสติก

Autistic Academy

· ออทิสติก - Autism Spectrum Disorder
    · ออทิสติก 10 คำถาม
    · ออทิสติกแท้ ออทิสติกเทียม
    · ออทิสติก พบได้มากแค่ไหน
    · ออทิสติก เกิดจากอะไร
    · ออทิสติก ป้องกันได้ไหม
    · ออทิสติก โตแล้วเป็นอย่างไร
    · เรียนรู้และเข้าใจเด็กออทิสติก
    · พฤติกรรมแปลกๆของเด็กออทิสติก
    · การเลี้ยงดูเด็กออทิสติก
    · เมื่อเด็กออทิสติกถึงวัยเรียน
· แนวทางการดูแลออทิสติกแบบบูรณาการ
    · การส่งเสริมพลังครอบครัว ในออทิสติก
    · การส่งเสริมความสามารถ ในออทิสติก
    · การส่งเสริมพัฒนาการ ในออทิสติก
    · การปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ในออทิสติก
    · กิจกรรมบำบัด ในออทิสติก
    · แก้ไขการพูด ในออทิสติก
    · การฝึกทักษะสังคม ในออทิสติก
    · การฟื้นฟูสมรรถภาพทางการศึกษา ในออทิสติก
    · การฟื้นฟูสมรรถภาพทางอาชีพ ในออทิสติก
    · การรักษาด้วยยา ในออทิสติก
· การบำบัดทางเลือก ในออทิสติก
· เด็กออทิสติกกับการเล่นสมมติ
· พฤติกรรมการเล่นในเด็กออทิสติก
· แนวทางส่งเสริมการเล่นในเด็กออทิสติก
· แอสเพอร์เกอร์
· เมื่อลูกเป็นแอสเพอร์เกอร์ ซินโดรม
· พีดีดี เอ็นโอเอส
· ลิงก็เป็นออทิสติกได้
· หมาก็เป็นออทิสติกได้
· อัจฉริยะกับออทิสติก
· ซาวองต์ ซินโดรม
· ออทิสติก ซาวองต์
· ระดับความสามารถของอัจฉริยะออทิสติก
· รูปแบบการคิดของอัจฉริยะออทิสติก
· แนวทางการพัฒนาอัจฉริยะออทิสติก
· รหัสพันธุกรรมของอัจฉริยะออทิสติก
· การประเมิน อัจฉริยะออทิสติก
· Rain Man จากเรนแมน สู่ออทิสติก
· Good Doctor หมออัจฉริยะ ออทิสติก
· Move to Heaven สู่ความเข้าใจแอสเพอร์เกอร์
· Attorney Woo ทนายอัจฉริยะ ออทิสติก
· อัจฉริยะออทิสติก: คิม พีค
· อัจฉริยะออทิสติก: เทมเพิล แกรนดิน
· อัจฉริยะออทิสติก: สตีเฟน วิลท์เชียร์
· อัจฉริยะออทิสติก: แดเนียล แทมเมต

 

A   U   T   I   S   T   I   C       A   C   A   D   E   M   Y

 

 

Autism Spectrum Disorder   Autism Spectrum Disorder: FAQ   Autism Spectrum Disorder : Integrated care   Autism Spectrum Disorder : Family Empowerment   Autism Spectrum Disorder: Ability Enhancement   Autism Spectrum Disorder : Developmental Intervention   Autism Spectrum Disorder : Behavior Modification   Autism Spectrum Disorder: Occupational Therapy   Autism Spectrum Disorder : Speech Therapy   Autism Spectrum Disorder : Social Skill Training   Autism Spectrum Disorder: Educational Rehabilitation   Autism Spectrum Disorder : Vocational Rehabilitation   Autism Spectrum Disorder: Pharmacotherapy   Autism Spectrum Disorder: Alternative Therapy   Autism Spectrum Disorder: Understand   Autism Spectrum Disorder: Abnormal Behavior   Autism Spectrum Disorder: Child Rearing   Autism Spectrum Disorder: School Age   Autism Spectrum Disorder: Pretend Play   Autism Spectrum Disorder: Play Behavior   Autism Spectrum Disorder: Play Promotion  

คลิกเลือกเรื่องที่สนใจ

 

Genius & Autism   Savant Syndrome   Autistic Savant   Autistic Savant Level   Autistic Savant & Cognitive Style   Autistic Savant & Care   Autistic Savant & Genetic   Autistic Savant & Assessment   Good Doctor   Move to Heaven   Extraordinary Attorney Woo   Rain Man   Autistic Savant: Kim Peek   Autistic Savant: Temple Grandin   Autistic Savant: Stephen Wiltshire   Autistic Savant: Daniel Tammet   Asperger   Asperger Syndrome   PDD NOS   Autistic Monkey   Autistic Dog  

คลิกเลือกเรื่องที่สนใจ